ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ ---------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๓๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สภาผู้แทนราษฎรจึงตราข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ คําว่า “ประธานสภา” หมายความว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎร “รองประธานสภา” หมายความว่า รองประธานสภาผู้แทนราษฎร “สภา” หมายความว่า สภาผู้แทนราษฎร “ประธาน” หมายความว่า ประธานของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร “สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร “กรรมาธิการ” หมายความว่า กรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญของสภา “บริเวณสภา” หมายความว่า อาณาบริ เวณอันเป็นขอบเขตของสภาผู้แทนราษฎรและให้หมายความรวมถึงอาคารที่ทําการต่าง ๆ และอาคารที่ทําการของสภาผู้แทนราษฎรด้วย “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร “การประชุม” หมายความว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร “ศาล” หมายความว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง “ร่างพระราชบัญญัติ” หมายความรวมถึง ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วย ข้อ ๔ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการตามข้อบังคั บนี้ และมีอำนาจออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑ การเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ---------------------
ข้อ ๕ การเลือกประธานสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีจํานวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ ให้ประธานประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุม ข้อ ๖ การเลือกรองประธานสภา ให้นําความในข้อ ๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่สภามีมติ ให้มีรองประธานสภาสองคน ให้เลือกรองประธานสภาคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนที่สอง ข้อ ๗ เมื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภาได้แล้ว ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนําความกราบบังคมทูล เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาแล้ว ให้เลขาธิการส่งสําเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบด้วย
|