วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 14.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายนิกร จำนง เลขานุการคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แถลงข่าว การนำเสนอรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ได้พิจารณาส่งพิมพ์ รายงานของคณะกมธ.จำนวน 3เล่ม ประกอบด้วย เล่มรายงานเต็มฉบับ เล่มภาคผนวก ก. และเล่มภาคผนวก ข. พร้อมนำเสนอต่อ สภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว เบื้องต้นคาดว่า จะมีการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 15 ส.ค.67 หรือปลายเดือน ส.ค.67 เมื่อวันที่ 25 ก.ค.67 คณะกมธ. ได้มีการพิจารณา รายงานคณะ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก่อนเสนอรายงานต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป โดยในรายงานจะมีรายละเอียดการดำเนินงานของคณะ กมธ. วิสามัญ ซึ่งสามารถสรุปผลการพิจารณาศึกษา และข้อสังเกตของ คณะกมธ.ได้ 9 ข้อดังนี้
1. ช่วงเวลาในการนิรโทษกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.48 ถึงปัจจุบัน
2. ประเด็นคดีที่ควรได้รับการนิรโทษกรรม (คดีหลัก คดีรอง และคดีที่มีความอ่อนไหว)
3. รูปแบบ/กระบวนการในการนิรโทษกรรม (การนิรโทษกรรมโดยใช้รูปแบบผสมสาน)
4. ควรกำหนดนิยามของคำว่า "การกระทำที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง" หมายความว่า "การกระทำที่มีพื้นฐานมาจากความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง หรือต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งหรือเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง"
5. ควรกำหนดขอบเขตของการนิรโทษกรรม
6. ข้อดี ข้อเสียการนิรโทษกรรมหรือไม่นิรโทษกรรมในคดีหลัก คดีรอง และคดีที่มีความอ่อนไหว
7. เป็นข้อที่มีความสำคัญ ที่ความเห็นของ กมธ.เกี่ยวกับคดีที่มีความอ่อนไหว (ความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112) คณะกมธ.ได้พิจารณาในประเด็นการนิรโทษกรรมหรือไม่นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 (ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) โดย กมธ.ได้มีการแสดงความเห็นออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ 1 ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกวรมคดีที่มีความอ่อนไหว 2 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวโดยมีเงื่อนไข โดย กมธ.ที่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ได้เสนอ เงื่อนไขในการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) ของ กมธ. และที่ปรึกษาประจำ คณะกมธ.เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวโดยมีเงื่อนไขด้วย 3 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวโดยไม่มีเงื่อนไข
8. การอำนวยความยุติธรรมโดยกลไกตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน
9. บัญชีท้ายร่าง พ.ร.บ. (ความผิดตามกฎหมาย 25 ฉบับ โดยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 14ฐานความผิด จำนวน 58 มาตรา) ข้อสังเกตของคณะกมธ. จำนวน 6 ข้อ (รายละเอียดตามเอกสารแนบ)
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats