วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 606 ชั้น 6 อาคารรัฐสภา นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ให้การต้อนรับและให้เกียรติบรรยายพิเศษในหัวข้อ "รัฐสภาไทยกับประชาชนในพื้นที่” ให้กับคณาจารย์ และนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานภาครัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 22 คน เนื่องในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงาน และเยี่ยมชมภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณโดยรอบอาคารรัฐสภา โดยมี นายเทอดชาติ  ชัยพงษ์ สส.จังหวัดเชียงราย พรรคเพื่อไทย น.ส.พิชชา เชื้อเมืองพาน ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ร่วมให้การต้อนรับ

ในการนี้ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ได้กล่าวต้อนรับและบรรยายพิเศษใจความตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกว่า 92 ปีแล้ว มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ รัฐสภาเป็นหนึ่งในสามสถาบันทางการเมืองที่ใช้อำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ เปรียบเสมือนตัวแทนของพี่น้องประชาชนในการทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเฉพาะหน้าที่สำคัญ คือการออกกฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญตามที่กฎหมายบัญญัติ ขณะนี้ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เสนอกฎหมายเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นความก้าวหน้ามากที่สุด นอกจากนี้ มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับกฎหมาย ด้วยกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการเสนอกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ โดยตนได้เสนอร่างพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษล้านนาตะวันออก พ.ศ. .... เพื่อเป็นการส่งเสริมพื้นที่ที่มีศักยภาพและขีดความสามารถทั้งทางด้านทรัพยากรและศักยภาพของพื้นที่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือกลุ่มจังหวัดล้านนาตะวันออก ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน และจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพ เป็นเมืองหน้าด่านเชื่อมโยงการค้า การนำเข้า การส่งออกมีฐานทรัพยากรธรรมชาติเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ เป็นเขตพัฒนาพิเศษล้านนาตะวันออก ซึ่งได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 เพื่อทำการรวบรวมว่าประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น มีความคิดเห็นต่อร่างดังกล่าวอย่างไร จากนั้น จะนำร่างดังกล่าวเสนอสู่ที่ประชุมสภาต่อไป สะท้อนให้เห็นว่าการออกกฎหมายแต่ละฉบับนั้น จะนำเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิด ริเริ่ม ร่วมพิจารณาตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ที่มีผลกระทบถึงตัวประชาชนเอง มีความก้าวหน้าในการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ สำหรับอาคารรัฐสภาแห่งนี้เป็นความภาคภูมิใจของประเทศ อนาคตจะมีการพัฒนาพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติมจนเป็นรัฐสภาที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก หวังว่าการมาศึกษาดูงานจะสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกท่านได้นำกลับไปสร้างเสริมประสบการณ์จนประสบความสำเร็จในชีวิตต่อไป

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats