|
|
วันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 13.10 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย สส.พรรคเพื่อไทย แถลงข่าวกรณียื่นญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ. .
ต่อประธานรัฐสภา เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า สาเหตุที่ยื่นญัตติดังกล่าว เนื่องจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเสนอให้มีการทำประชามติ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เสนอถามประชาชนโดยที่ยังไม่มีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภาว่าสมควรให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ครั้งที่ 2 เมื่อมีร่างแก้ไขมาตรา 256 เสนอต่อรัฐสภาและได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว และครั้งที่ 3 เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นแล้ว ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีความเห็นว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ที่ระบุว่า ให้ถามประชาชนเสียก่อนว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจนว่าถามในขั้นตอนใด ซึ่งอาจตีความได้ว่า สามารถเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อแก้ไขวิธีแก้รัฐธรรมนูญ และเพิ่มเติมหมวดการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยกระบวนการ สสร.ไปก่อนได้ และเมื่อรัฐสภาอนุมัติร่างแก้ไข มาตรา 256 ในวาระสามแล้ว จึงไปสอบถามประชาชนว่า ยินยอมหรือเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะสามารถลดขั้นตอนการทำประชามติเหลือเพียง 2 ครั้ง ทำให้ลดภาระงบประมาณได้ 3,000 - 4,000 ล้านบาท พรรคเพื่อไทยจึงเห็นควรให้เสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติมฯ และหากประธานรัฐสภาไม่บรรจุญัตติดังกล่าวตามข้อเสนอของสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 ขณะที่สมาชิกรัฐสภาเห็นว่าสามารถดำเนินการได้เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา พรรคเพื่อไทยก็มีสิทธิที่จะเสนอประเด็นความเห็นดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา โดยขอให้ประธานรัฐสภาส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำไปสู่คำตอบว่าจะต้องทำประชามติกี่ครั้ง ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยมีความตั้งใจและเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การเสนอรแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ในครั้งนี้ จึงเป็นไปเพื่อหาข้อยุติว่าควรทำประชามติกี่ครั้ง โดยมิได้มีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาเกิดจาก |
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|