วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ศูนย์ประชุมวิชาการนานาชาติ อาคาร ดร.เกริก มหาวิทยาลัยเกริก เขตบางเขน กรุงเทพฯ นายวันมูหะมัดนอร์  มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเกริกวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 19 ประจำปี พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งปาฐกถาพิเศษ ภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน" (Resilience and Reinvention for Sustainability)  

โอกาสนี้ นายวันมูหะมัดนอร์  มะทา กล่าวเปิดใจความว่า ขอแสดงความชื่นชมการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติของมหาวิทยาลัยเกริก และเป็นกำลังใจให้ผู้บริหาร รวมทั้งบุคลากร มหาวิทยาลัยเกริก ที่ร่วมกันจัดการประชุม และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมวิซาการในครั้งนี้ ขออวยพรให้การประชุมครั้งนี้ ประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การประชุมนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้สังคมและประเทศชาติต่อไป บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ขอเปิดงานการประชุมเกริกวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 19 ประจำปี พ.ศ. 2566 หัวข้อ "การพัฒนาวิถีใหม่เพื่อสังคมที่ยั่งยืน" ณ บัดนี้

สำหรับการปาฐกถาพิเศษ ภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน" (Resilience and Reinvention for Sustainability) ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเกริก ที่ให้เกียรติมาปาฐกถาในวาระพิเศษนี้ จากหัวข้อของการประชุมในครั้งนี้ "การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน" ซึ่งใช้หัวข้อการประชุมในภาษาอังกฤษว่า "Resilience and Reinvention for Sustainability" เป็นหัวข้อที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ จึงเป็นเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ และเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับเราทุกคนที่จะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เพื่อสร้างวิถีชีวิตใหม่ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน มั่นคง และมีความสุขการพัฒนาวิถีใหม่ ควรเป็นอย่างไร โลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ เต็มไปด้วยความท้าทายและความไม่แน่นอนการมาถึงของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาดโควิด-19 ที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ สงครามที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของโลกเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวอย่างของความท้าทายที่เราทุกคนกำลังเผชิญซึ่งเห็นว่า "ความยืดหยุ่น" นั้น มีความสำคัญ และจำเป็นต้องมี ยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับบุคคลและองค์กรที่จะประสบความสำเร็จในโลกปัจจุบัน 

ความยืดหยุ่น Resilience หมายถึง ความสามารถในการยืดหยุ่นปรับตัว และฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงหรือความท้าทาย เป็นความสามารถในการรับมือกับความยากลำบาก ทนต่อแรงกระแทก สามารถปรับตัว และเร่งความเร็วอย่างต่อเนื่องได้เมื่อเกิดการหยุดชะงัก หรือเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปสำหรับองค์กร ความยืดหยุ่น จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัว ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ช่วยให้องค์กรสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์และเติบโตในระยะยาวการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเกือบทุกภาคส่วนในระดับโลก องค์กรส่วนใหญ่ถูกบังคับให้เข้าสู่โหมดเอาชีวิตรอดอย่างกะทันหัน และถูกท้าทายให้ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาไม่ได้อย่างต่อเนื่องบางธุรกิจปิดตัวลงโดยสิ้นเชิง แต่บางธุรกิจก็พยายามที่จะตามให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ก็พยายามปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงไป เช่น จากผู้ผลิตสินค้าเครื่องสำอางเปลี่ยนไปผลิตเจลทำความสะอาดมือ จากผู้ผลิตเสื้อผ้าเปลี่ยนไปผลิตหน้ากากอนามัย เป็นต้น จะเห็นได้ว่าองค์กรที่มีระบบการทำงานที่แข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่นจะมีโอกาสที่ดีกว่าในการฝ่าฟันอุปสรรค ให้หลุดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ โดยคว้าโอกาสที่ผู้อื่นมองไม่เห็นหรือไม่สามารถดำเนินการได้ สำหรับบุคคลความยืดหยุ่นจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายแม้ต้องเผชิญกับความท้าทาย ช่วยให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องอย่างรวดเร็ว และเติบโตในอาชีพการงานยกตัวอย่าง ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 พ่อค้าแม่ค้าที่เคยเปิดร้านขายปลีกที่ตลาดหรือร้านค้าไปขายของที่ตลาดไม่ได้ คนที่ปรับตัวได้รับการเปลี่ยนแปลงได้ทันก็คิดขายของแบบวิถีใหม่ คือ การขายของออนไลน์ ผ่านโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อาทิ Facebook, Line, TikTok เป็นต้นโดยรูปแบบการขายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน คือ การถ่ายทอดสด หรือ Live ผ่านแอปพลิเคชัน เช่น Facebook TikTok เป็นต้น เนื่องจากง่ายต่อการใช้งาน และสามารถโต้ตอบกับลูกค้าได้แบบ Real time เหมือนมาเจอกันที่หน้าร้านจะเห็นได้ว่า พ่อค้าแม่ค้าที่ปรับตัวได้ เปิดใจยอมรับเทคโนโลยี กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ย่อมสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเห็นวิกฤติเป็นโอกาส เพราะการซื้อขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์และแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวาง มีจำนวนผู้ใช้งานสูงช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี จนสามารถเพิ่มยอดขายขึ้นได้หลายเท่าตัว หลังจากเปลี่ยนมาใช้ช่องทางออนไลน์ มีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าองค์กร หรือ บุคคล ที่มีความยืดหยุ่นและมีการปรับตัวสามารถที่จะหลุดพ้นจากวิกฤติ โดยคว้าโอกาสที่ผู้อื่นมองไม่เห็น หรือไม่สามารถดำเนินการได้ความยืดหยุ่นมีองค์ประกอบหลายประการ ประการแรก ความยืดหยุ่นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับมือกับความเครียดและความยากลำบาก ประการที่สอง ความยืดหยุ่นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ประการที่สาม ความยืดหยุ่นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการ เรียนรู้และเติบโตจากประสบการณ์ทุกท่าน ในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความยืดหยุ่น จึงเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับบุคคลและองค์กร ยิ่งกว่าที่เคยเราควรพัฒนาทักษะ "ความยืดหยุ่น" เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายของโลกของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การพัฒนาความยืดหยุ่นสิ่งสำคัญคือ ต้องฝึกฝนทักษะการเผชิญปัญหาและการจัดการความเครียด ต้องเปิดกว้างสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และรับการเปลี่ยนแปลงต้องสร้างเครือข่ายสนับสนุนที่จะช่วยให้รับมือกับความท้าทายหากเรามีทักษะความยืดหยุ่น มีความสามารถในการรับมือกับความยากลำบากทนต่อแรงกระแทก สามารถปรับตัวและเร่งความเร็วอย่างต่อเนื่องได้เมื่อเกิดวิกฤตการณ์หรือเกิดการหยุดชะงัก จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เราสามารถปรับตัวและหาหนทางใหม่ ๆ เพื่อดำเนินชีวิตและทำงานต่อไปได้และเมื่อเรามีทักษะความยืดหยุ่นแล้ว ก็ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นด้วยนั่นคือ Reinvention เป็นการคิดค้นสิ่งใหม่ พัฒนาให้ดีกว่าเดิม หรือ "วิถีใหม่" นั่นเองแท้จริงแล้วมนุษยชาตินั้น ก็คิดค้นสิ่งใหม่ วิทยาการ เทคโนโลยี แนวคิด และความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะโลกก็เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ จึงช่วยให้เราปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และก้าวนำหน้าอยู่เสมอ "วิถีใหม่" ในที่นี้ คือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือ เปลี่ยนสิ่งที่มีอยู่ให้กลายเป็นสิ่งที่ดีกว่าเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตที่สามารถนำไปใช้กับบุคคลธุรกิจ และองค์กรได้ สำหรับบุคคล คือ บุคคลที่พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ กล้าที่จะลองสิ่งใหม่และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่เสมอ บุคคลเหล่านี้จะประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน สำหรับธุรกิจ คือ ธุรกิจที่พร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและเทคโนโลยีธุรกิจเหล่านี้จะเติบโตและแข่งขันได้ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สำหรับองค์กร คือ องค์กรที่พร้อมที่จะพัฒนานวัตกรรม และสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า องค์กรเหล่านี้จะประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในสังคม

วิถีใหม่กับแนวทางการประยุกต์ "วิถีใหม่" ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งอื่น ๆ ได้อีก เช่น การศึกษา ควรเน้นการสอนให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะการแก้ปัญหา และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก เน้นการสอนให้นักเรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และทำงานร่วมกับผู้อื่น จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ นอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตในสังคมการเมืองการปกครอง ควรเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนการดำเนินงานของรัฐบาลต้องมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้สังคม ควรเน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก คนในสังคมควรมีจิตสำนึกในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจไมตรีและพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งแวดล้อม ควรได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน คำนึงถึงการนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เช่น การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน การใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การคัดแยกขยะ การรีไซเคิล และการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง เป็นต้น 

"ความยั่งยืน" Sustainability หมายถึง ความสามารถในการคงอยู่ได้ในระยะยาว โดยคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นและความยั่งยืนความยืดหยุ่นและความยั่งยืนมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด โดยความยืดหยุ่นนั้นเป็นความสามารถ  ในการปรับตัวและฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงหรือความท้าทายในขณะที่ความยั่งยืนเป็นความสามารถในการดำรงอยู่และดำเนินต่อไป เช่น ระบบนิเวศที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติได้ดีกว่าระบบนิเวศที่ไม่ยืดหยุ่น สิ่งนี้ทำให้ระบบนิเวศที่มีความยืดหยุ่นสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ในระยะยาวธุรกิจที่ยั่งยืน โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและปล่อยมลพิษน้อยลงทำให้ธุรกิจนั้นมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและค่าจ้างแรงงาน ดังนั้น "ความยืดหยุ่น" จึงมีความสำคัญต่อ "ความยั่งยืน" เนื่องจากช่วยให้ระบบสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงและแรงกดตันต่าง ๆ และมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน โดยระบบที่มีความยืดหยุ่นมักจะมีความยั่งยืนมากขึ้น และระบบที่ยั่งยืนสามารถช่วยให้ระบบมีความยืดหยุ่นมากขึ้น นอกจากนี้ การค้นพบสิ่งใหม่ หรือ วิถีใหม่ ก็สามารถช่วยให้ระบบมีความยืดหยุ่นและความยั่งยืนมากขึ้นไปอีก ดังนั้น จึงเห็นว่าเราได้ก้าวมาถึงขั้นใหม่ของการพัฒนาอย่างแท้จริง นั่นคือ การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน "การพัฒนาวิถีใหม่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน" จึงจะต้องเป็นการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนในปัจจุบัน แต่ต้องไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตของลูกหลานเราในอนาคต เชื่อว่าขณะนี้ทุกภาคส่วนก็ให้ความสำคัญและตระหนักถึงความยั่งยืนของสังคมเราเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนที่ตื่นตัวและทันต่อการเปลี่ยนแปลงในการผลิตสินค้าต่าง ๆ บนพื้นฐานของความยั่งยืน เช่น ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ สินค้าวิสาหกิจชุมชน สินค้าเกษตรปลอดภัยที่ผู้ประกอบการและเกษตรกรมีส่วนร่วมด้วยกัน เป็นต้น ในส่วนของภาครัฐเองก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของภาคเอกชนและภาคประชาชน รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน ทั้งภาคประชาชนเองก็ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ในเทศกาลตามประเพณีที่ให้ความสำคัญกับสายน้ำ ทุกภาคส่วนก็ร่วมมือร่วมใจกัน สืบสานประเพณีไทยอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยหน่วยงานภาครัฐได้จัดพื้นที่จำลองแหล่งน้ำให้กับประชาชนเป็นการเฉพาะเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสะดวกรวดเร็วในการจัดเก็บและคัดแยกในส่วนภาคประชาชนก็ปรับเปลี่ยนไปใช้วัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ก็ยังมีวิถีใหม่เกิดขึ้น คือ การร่วมสืบสานประเพณีแบบออนไลน์กดคลิกผ่านเว็บไซต์หรือโทรศัพท์มือถือของท่านได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยลดปริมาณขยะได้เป็นอย่างดี
 
สภาผู้แทนราษฎรมุ่งมั่นพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ สำหรับการดำเนินงานของฝ่ายนิติบัญญัตินั้น ในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. ทุกคนต่างก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเห็นได้จากการดำเนินงานของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมที่ผ่านมา ส.ส.ได้มีข้อปรึกษาหารือ กระทู้ถาม กระทู้ถามแยกเฉพาะ และเสนอญัตติ รวมทั้งเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่มุ่งหมายจะแก้ไขปัญหาเสนอแนะมาตรการและกลไกในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากสถิติข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในช่วง 3 เดือน ที่เป็นสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ หนึ่ง (ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม - 26 ตุลาคม 2566) มีข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมาจากทุกพรรคการเมือง รวมทั้งสิ้น 2,394 ข้อหารือ โดย 3 ลำดับแรก เป็นเรื่องเกี่ยวกับ 1) ด้านสังคมและสวัสดิการ จำนวน 1,740 ข้อหารือ 2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 369 ข้อหารือ 3) ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 100 ข้อหารือ และ 4) ด้านการเมือง - การปกครอง จำนวน 76 ข้อหารือ 5) ด้านกฎหมาย จำนวน 89 ข้อหารือ 6) ด้านการร้องเรียนกล่าวโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 20 ข้อหารือ จากสถิติตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชน และความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างรอบด้านและยั่งยืนในทุกมิติ ในโอกาสนี้ ขอเน้นย้ำถึงความสำคัญของ "ความยืดหยุ่น" "การปรับเปลี่ยนในวิถีใหม่" เพื่อนำไปสู่ "ความยั่งยืน" ของสังคม ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่เราทุกคนจำเป็นต้องให้ความสนใจ จึงขอขอบคุณ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาที่ได้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ล้วนมีส่วนสำคัญกับประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนเช่นเดียวกันซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการต่อยอดองค์ความรู้ และขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การเป็นสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้งขอขอบคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนเชื่อมั่นว่า หากเราสามารถพัฒนาความยืดหยุ่นได้อย่างจริงจัง ปรับเปลี่ยนวิธีคิดและปฏิบัติให้เหมาะสมกับความท้าทายของยุคสมัย เราจะสามารถสร้างวิถีใหม่ ๆ ที่จะก้าวไปสู่สังคมที่ยั่งยืนได้อย่างแน่นอน จึงอยากเชิญชวนทุกท่านและทุกภาคส่วน ไม่ว่าภาครัฐ ภาคเอกชนภาคประชาสังคม โดยเฉพาะท่านนักคิดนักวิชาการทั้งหลายในที่แห่งนี้ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำสร้างวิถีใหม่ เพื่อประเทศไทยและสังคมโลกอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งการประชุมดังกล่าว จัดโดยมหาวิทยาลัยเกริก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลภายนอก รวมทั้งเป็นเวทีในการนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาสังคมการศึกษาและด้านอื่น ๆ ตามปณิธานและเป้าหมายในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
เยี่ยมชมรัฐสภา
ของที่ระลึกจากรัฐสภา Souvenir
รางวัลพานแว่นฟ้า
โครงการประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย
ยุวชนประชาธิปไตย
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
สำนักงบประมาณของรัฐสภา


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...


สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
ss
Share

View My Stats