วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล พร้อมด้วยนายศักดิ์ชาย ตันเจริญ และนายปกรณ์ จีนาคำ โฆษกคณะ กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงข่าวผลการประชุมของคณะ กมธ. เมื่อวันพุธที่ 18 ต.ค. 66 ซึ่งที่ประชุมมีวาระการพิจารณา เรื่อง นโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนการปรับปรุงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ให้เป็นโฉนดที่ดินเพื่อการจัดการเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ติดตามการผลักดันนโยบายของรัฐบาลในประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ 

โดยทางคณะ กมธ. ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้ข้อมูล ซึ่ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ และนายสุรชัย ยุทธชนะ รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ร่วมให้ข้อมูล โดยมีประเด็นสำคัญจากการชี้แจงของตัวแทน ส.ป.ก. ในเรื่องหลักการการดำเนินนโยบาย มีจำนวน 11 ข้อ คือ
1. เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และมติ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับภารกิจดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ธ.ค. 66
2. จัดทำร่างระเบียบเพื่อกำหนดรูปแบบและนิยามโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พร้อมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเปลี่ยนเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
3. กำหนดคุณสมบัติผู้ได้รับการจัดที่ดินซึ่งเป็นเกษตรกรที่ถือครอง ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งได้ทำประโยชน์ในที่ดินมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
4. กำหนดวิธีการจัดที่ดินโดยจะเป็นการจัดที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมตามการจำแนกพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน
5. กำหนดหลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงผู้ทำประโยชน์ โดยให้สามารถเปลี่ยนมือได้ระหว่างเกษตรกรที่มีคุณสมบัติด้วยกัน ตามที่กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด
6. จำนวนเนื้อที่การถือครองยังคงเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด (เกษตรกรรมไม่เกิน 50 ไร่ และการเลี้ยงสัตว์ใหญ่ไม่เกิน 100 ไร่)
7. กำหนดให้เกษตรกรที่ได้รับโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องปลูกไม้มีค่าในพื้นที่ตามสัดส่วนและชนิดของไม้มีค่าที่ ส.ป.ก. กำหนด
8. แนวทางการควบคุม กำกับ ดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยกำหนดให้เลขาธิการ ส.ป.ก. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ ส.ป.ก. มอบหมายเป็นนายทะเบียนในการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมให้แก่เกษตรกรโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.
ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งกำหนดค่าดำเนินการที่เกี่ยวข้องในการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรม
9. ส.ป.ก. จะสามารถกำหนดหรือคำนวณมูลค่าที่ดินและทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์สินเพื่อเกษตรกร เพื่อสร้างมูลค่าให้กับที่ดินรัฐ โดยแก้ไขบันทึกข้อตกลงกับ ธ.ก.ส. เพื่อเพิ่มวงเงินค้ำประกันเงินกู้และอำนาจในการจัดทำ
ข้อตกลงกับสถาบันการเงินอื่น เพื่อเพิ่มโอกาสในการใช้เอกสารสิทธิ์หรือสร้างมูลค่าเพิ่ม
10. การดำเนินการออกโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรกจะสามารถแจกให้เป็นจังหวัดต้นแบบได้ภายในวันที่ 15 ม.ค. 67 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับพี่น้องเกษตรกร
11. ส.ป.ก. จะดำเนินการในการออกเอกสารสิทธิ์ในรูปแบบโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในทุกจังหวัดภายใน 1 ปี และจะดำเนินการปรับปรุงเอกสารสิทธิ์ให้กับเกษตรกรที่มีคุณสมบัติครบภายใน 5 ปี

โดยหลักการทั้ง 11 ข้อนี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ ส.ป.ก. ครั้งที่ 1/2566 ในวันนี้ เพื่อพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อปรับปรุงสิทธิ์การถือครองที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งทางคณะ กมธ.จะติดตามผลการประชุมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คณะ กมธ. มีคำถามและข้อสังเกต ดังนี้
1. คณะ กมธ.มีข้อสังเกตว่า "โฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" คือ ที่ดินที่ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรฯ ต่างกับโฉนดที่ดินของกรมที่ดินซึ่งเป็นหลักกรรมสิทธิ์ ส่วนโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่เป็นนโยบายรัฐบาลนั้นเป็นเพียงสิทธิ์ แต่พยายามทำให้มีการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ์เหมือนกับโฉนดที่ดิน และมีการจำกัดว่าคนที่จะมาถือสิทธิ์ต้องครอบครอง ส.ป.ก. 4-01 และได้ทำประโยชน์ในที่ดินมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี การยกระดับสิทธิ์และพัฒนาสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งยังเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ส.ป.ก. เพิ่มจากเดิมที่ให้เพียงสิทธิ์การเข้าทำประโยชน์ ไม่สามารถซื้อ ขาย เปลี่ยนมือ โอนไปยังบุคคลอื่นได้
2. คณะ กมธ.กังวลถึงเรื่อง ข้อพิพาทจากการประกาศแนวเขตปฏิรูปที่ดินที่ไม่ชัดเจนและทับซ้อนกับแนวเขตที่ดินประเกทอื่น อาทิ แนวเขตป่าไม้ ที่ดินสาธารณประโยชน์ ที่ดินราชพัสดุ เพราะฉะนั้นก่อนจะมีนโยบายเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด ทางสำนักงาน ส.ป.ก. และสำนักงาน คทช. มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร เนื่องจากหากดำเนินการไปแล้วอาจทำให้ปัญหาพื้นฐานที่มีอยู่ซับซ้อนขึ้นไปอีก ซึ่งทางคณะ กมธ. ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน
3. คณะ กมธ.มีข้อห่วงกังวลเรื่องวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติอย่างไร และมีวิธิการดำเนินการกับนายทุนผู้ที่ครอบครองพื้นที่เกินกว่านโยบายอย่างไร จะทวงคืนอย่างไร และมีแนวทางติดตามและตรวจสอบการเปลี่ยนมือที่ดินหลังจากดำเนินนโยบายอย่างไร ซึ่งทางคณะ กมธ.จะติดตามข้อมูลเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
4. คณะ กมธ.จะขอข้อมูลเพิ่มเติม เรื่องบันทึกข้อตกลงกับ ธ.ก.ส. ปัจจุบันมีวงเงินค้ำประกันเงินกู้เท่าไร ยอดหนี้ที่เกษตรกรใช้ค้ำประกันเงินกู้มีทั้งหมดเท่าไร คิดเป็นที่ดินจำนวนทั้งหมดกี่ไร่ มีเกษตรกรกี่รายค้ำประกันเงินกู้ด้วยที่ดิน ส.ป.ก. ปัจจุบันสถานะทางการเงินของกองทุน ส.ป.ก. เป็นอย่างไร ซึ่งทางคณะ กมธ.จะขอข้อมูลเป็นเอกสารเพิ่มเติมภายหลัง

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats