FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร
“สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพบปะหารือกับประธานคณะกรรมการบริหารการประชุมยุวสมาชิกรัฐสภาของสหภาพรัฐสภา”

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 22 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566

เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 14.30 นาฬิกา ณ ห้องรอพิเศษ 207 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับ Mr. Dan Carden สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหราชอาณาจักร ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารการประชุมยุวสมาชิกรัฐสภาของสหภาพรัฐสภา (President of the IPU Board of the Forum of Young Parliamentarians) เพื่อหารือในประเด็นความเท่าเทียม ความหลากหลาย การมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่มในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะกลุ่มชายขอบ ได้แก่ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น

ทั้งสองฝ่ายได้สนทนาหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในหลากหลายประเด็น โดยนาย Dan Carden ได้กล่าวว่ารัฐสภาสหราชอาณาจักรได้รับการกล่าวขานว่าเป็นรัฐสภาที่มีความหลากหลายทางเพศมากที่สุดในโลก โดยมีสมาชิกรัฐสภาที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ Plus (ที่เปิดเผยเพศสภาพของตน) จำนวนถึง 75 คน ในสภาผู้แทนราษฎร โดยตนได้พยายามแสวงหาความร่วมมือเพื่อส่งเสริมวาระของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศผ่านกลไกกลุ่มชมรมสมาชิกรัฐสภา LGBTQ plus ในรัฐสภาสหราชอาณาจักรที่มาจากหลากหลายพรรคการเมือง พร้อมกันนั้น พยายามแสวงหาความร่วมมือกับประเทศในเครือจักรภพเพื่อลบล้างมรดกของจักรวรรดิอังกฤษที่วางระบบกฎหมายกดขี่และเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึง การลิดรอนสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศในกองทัพสหราชอาณาจักรที่ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ติดเชื้อ HIV ไปจนถึงการสนับสนุนองค์กรพันธมิตรในประเทศที่มีประวัติการละเมิดสิทธิของพลเมืองผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างรุนแรง พร้อมทั้ง ย้ำว่ารัฐสภาจะต้องเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นความเท่าเทียมและความหลากหลายได้อย่างเสรีและสร้างสรรค์ โดยตนมีความยินดีที่รัฐสภาไทยได้เปิดพื้นที่ให้กลุ่ม LGBTQ Plus ได้มีตัวแทนแสดงบทบาทแข็งขันเช่นนี้

ในด้านของฝ่ายไทย นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แสดงความชื่นชมนาย Dan Carden ว่านอกจากจะเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นแล้ว ยังเป็นตัวแทนของชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีบทบาทสำคัญในเวทีระดับโลกด้วย จากนั้น ได้นำเสนอความก้าวหน้าหลายประการของรัฐสภาไทยในการดำเนินการเพื่อการส่งเสริมความเท่าเทียม ความหลากหลาย และการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม อันเป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ไม่ทิ้งคนกลุ่มใดไว้เบื้องหลัง หากเทียบกับช่วงก่อนปี 2562 ที่แทบจะไม่มีการพูดถึงประเด็นความหลากหลายทางเพศอย่างเปิดเผยในรัฐสภา โดยพรรคการเมืองน้อยใหญ่ต่างแข่งขันกันนำเสนอนโยบายเพื่อหาเสียงกับกลุ่มผู้ความหลากลายทางเพศที่มีจำนวนมากกว่า 7 ล้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดกว่า 52 ล้านคน นอกจากนี้ พรรคการเมืองพรรคหนึ่งได้เสนอผู้หญิงข้ามเพศเป็นบุคคลที่จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปใน ปี 2562 ด้วย 

นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ได้กล่าวต่อไปว่า ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ผ่านมา ซึ่งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากกลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่ม LGBTQ Plus ได้รับเลือกเข้าสู่สภาฯ เป็นครั้งแรก ตนได้ทำหน้าที่ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยกิจการกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในด้านนิติบัญญัตินอกจากพัฒนาการสำคัญในการเพิ่มกิจการกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเข้าไว้ในชื่อและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญแล้ว พรรคการเมืองส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้ว ต่างมีฉันทามติร่วมกันผลักดันร่างกฎหมายว่าด้วยการสมรสเท่าเทียม (การแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ. แพ่งและพาณิชย์) ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรรับในหลักการผ่านวาระหนึ่งแล้ว รวมถึง พ.ร.บ. ชีวิตคู่ ซึ่งหวังว่าสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่จะสามารถหยิบกลับขึ้นมาพิจารณาได้อีกครั้งในอนาคตอันใกล้ โดยตนและกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร LGBTQ Plus และองค์กรพันธมิตรในภาคประชาสังคม มีความมุ่งมั่นในการผลักดันให้รัฐสภาให้การเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการรับรองเพศ คำนำหน้านาม และการคุ้มครองบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมทั้งศึกษานัยทางเศรษฐกิจที่มีต่อการรณรงค์ส่งเสริมสิทธิของกลุ่ม LGBTQ Plus รวมถึง ผลักดันร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้ค้าประเวณี (sex worker) ด้วย แม้ประเทศไทยจะเป็นสังคมที่เปิดกว้าง และมีทัศนคติที่เป็นมิตรมากขึ้นต่อกลุ่ม LGBTQ Plus แต่ตนและชุมชน LGBTQ plus ยังคงต้องทำงานอีกมาก และหนทางยังอีกยาวไกลในการขับเคลื่อนวาระดังกล่าวโดยเฉพาะในแวดวงการเมือง ผ่านการแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร รวมถึง สมาชิกรัฐสภา LGBTQ ของสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาให้ระบบกฎหมายของไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตลอดจนพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย

เครดิตข่าวและภาพโดย : กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
Flip E-book ระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการพิจารณา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ขอเชิญสมาชิกตรวจสำเนารายงานการประชุม ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
สำนักงบประมาณของรัฐสภา
ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 (E-Book)
คลิกดูข้อมูลเกี่ยวกับการรายงานตัว
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats