|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาผู้แทนราษฎร |
สส. ธัญวัจน์ และเครือข่ายภาคประชาชนหารือแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นการรับรองเพศสภาพ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 17 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2566
|
วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม N 409 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.พรรคก้าวไกล สัดส่วนผู้มีความหลากหลายทางเพศ นายเอกราช อุดมอำนวย สส.กรุงเทพมหานคร และคณะทำงานความหลากหลายทางเพศ พรรคก้าวไกล ประกอบด้วย คณาสิต พ่วงอำไพ อิชย์อาณิคม์ ขิตวิเศษ หารือความคิดเห็นเบื้องต้นต่อร่างกฎหมายรับรองเพศ คำนำหน้า และคุ้มครองผู้มีความหลากหลายทางเพศ และแนวทางขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน ประกอบด้วย เปรมปรีดา ปราโมช ณ อยุธยา อุปนายกสมาคมฟ้าสีรุ้ง "ชมพิ้งค์ จิรภัทร ตรงจิตต์รักษา นักเคลื่อนไหวนิสิตข้ามเพศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณฐกมล ศิวะศิลป กลุ่ม Intersex Thailand และสมาชิกสภาฯ กลุ่ม Non-Binary Thailand ชัชชญา สิริวัฒกานนท์ กลุ่ม Non-Binary Thailand, Youth Voices Count และที่ปรึกษา ASEAN SOGIE CAUCUS อาทิตยา อาษา กลุ่ม TEAK - Trans Empowerment ตลอดจนผู้ประกวด Miss Trans Thailand 2023 นำโดย พญ.อัญชลี ชีวาจร ผู้จัดการประกวด Miss Trans Thailand 2023 ดร.พอลลี่ ณฑญา เป้ามีพันธ์ Miss Trans Thailand 2023 เจนรบ ชัยเลิศ อนุสรณ์ สีปัตตา และอิมรอเฮม แซมะแซ
โดยนายธัญวัจน์ กล่าวว่า ตนและคณะทำงานความเท่าเทียมทางเพศ พรรคก้าวไกล ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับประเด็น การรับรองเพศ และ คำนำหน้าตามสมัครใจ กับเครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานประเด็นความหลากหลายทางเพศ เริ่มจากอธิบายหลักการ เหตุผล และเนื้อหาร่างกฎหมาย รวมถึงที่มาของร่างกฎหมายที่ผ่านการรับฟังมาหลายเวทีในสภาชุดที่ 25 ที่ผ่านมา "อุปสรรคสำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว เป็นเรื่องยากมาก ต่างจากการสมรสเท่าเทียม ที่คนทั่วไปเข้าใจกันดี แต่เรื่องนี้จะมีคนที่เข้าใจหลักการสำคัญ กับฝ่ายที่ไม่เข้าใจเลย รวมทั้งการสื่อสารที่ยาก เพราะคนทั่วไปอาจจะมองว่าไม่ใช่ปัญหาของตน จึงเปิดรับฟังประเด็นรับรองเพศผ่านสื่อน้อย ประกอบกับการศึกษาสังคมไทยที่ยังปิดกั้นความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ และการขับเคลื่อนต้องร่วมกันหลายภาคส่วน"
พญ.อัญชลี กล่าวว่าความเท่าเทียมทางเพศ เป็นสิ่งสำคัญที่ตน และกองประกวด Miss Trans Thailand ให้ความสำคัญ เพราะไม่แค่เรื่องเพศ แต่เป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ LGBTQ พบว่ามีปัญหาด้านการประกอบอาชีพ ที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ และประเด็นต่อมาปัญหาครอบครัวไม่ยอมรับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตมาสู่สังคม
โดยนายธัญวัจน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า หลักการสำคัญของกฎหมายการรับรองเพศ และคำนำหน้าตามสมัครใจฯ คือ เจตจำนงที่ประชาชนนั้นมีสิทธิจะดำเนินชีวิตในเพศที่ตนเลือก (Self Determination)
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [ คลิกดูแผนที่]
|
|
|
|