|
|
|
ปฏิทินกิจกรรม |
« |
ธันวาคม 2567 |
» |
อา. |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ. |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 | |
|
|
|
ดูปฏิทินทั้งหมด |
|
|
|
|
|
e-Mail@parliament.go.th |
|
|
|
|
|
วีดิทัศน์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
|
|
|
|
|
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ |
พิธีส่งมอบงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 31 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2560
|
วันจันทร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมรัฐสภา ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑ พิธีส่งมอบงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศให้นายกรัฐมนตรีร้อยเอกทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กล่าวสรุปรายงานผลการดำเนินงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ผ่านมา ว่าภารกิจที่สำคัญของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และรัฐบาลปัจจุบันมี ๓ อย่าง ได้แก่ การบริหารราชการแผ่นดิน การปฏิรูปประเทศ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง การปฏิรูปจึงเป็นพันธกิจหลักอย่างหนึ่งของรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่มีความยั่งยืนพอสมควร โดยไม่ให้เกิดปัญหานั้น ๆ ซ้ำขึ้นมาอีก สำหรับผลการดำเนินงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มีดังนี้ ๑. เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มีส่วนสำคัญในการศึกษาและให้ ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการปฏิรูป ซึ่งปรากฏอยู่ในหมวด ๑๖ การปฏิรูป ประเทศด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๕๗ ถึง ๒๖๑จากนั้นประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้ส่งมอบงาน ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในการนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ได้เสียสละทำหน้าที่ เพื่อวางรากฐานให้ประเทศมี ความแข็งแกร่ง เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ และขอบคุณคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูป ประเทศทุกคณะ ที่ได้มุ่งมั่น ตั้งใจ เสนอการปฏิรูปด้านต่าง ๆ มายังรัฐบาลอย่างต่อเนื่องอีกทั้งได้กล่าวถึง จุดเริ่มต้นของการปฏิรูปประเทศในประเด็นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจำนวน ๑๑ ด้าน ตลอดจนแนวทาง การปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ และแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ ที่ได้จัดทำบน พื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๕๗๙) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศในปี ๒๕๗๙ คือ ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วย การพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี ๖ ยุทธศาสตร์ เป็นกรอบการพัฒนาระยะยาว ประกอบด้วย ๑. ความมั่นคง ๒. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ๓. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ๔. การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ๕. การสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ๖. การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้งนี้ การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ นี้ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการเชื่อมต่อกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ในลักษณะการแปลงยุทธศาสตร์ระยะยาวสู่การปฏิบัติ โดยในแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดประเด็นการพัฒนา พร้อมทั้งแผนงานและโครงการสำคัญที่ต้องดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วง ๕ ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) เพื่อสร้างความสามัคคี ปรองดอง และขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ และแผนต่าง ๆ ของชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. เรื่องที่นายกรัฐมนตรี มีดำริให้เสนอปฏิรูป อาทิ การจัดตั้งศาลทุจริตและประพฤติมิชอบ และมี บางเรื่องที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้เสนอนายกรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ อาทิ โครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย คลองด่าน การปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน เป็นต้น ๓. ผลงานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะแม่น้ำ ๕ สายที่จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันสภาขับเคลื่อน การปฏิรูปประเทศ ได้ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปต่าง ๆ ต่อนายกรัฐมนตรีจำนวน ๑๘๘ เรื่อง
|
|
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ถ.ประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2244 2500 e-Mail : webmaster@parliament.go.th |
|
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ |
|
(เริ่มนับ 5 ต.ค. 58) |
|
|
|