ค้นหา :
 ปฏิทินกิจกรรม
« ตุลาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
   1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
หน้าแรก
เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข้อมูลการประชุม
ข้อมูลเผยแพร่
ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวสารบ้านเมือง
ข่าววิทยุรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ของที่ระลึก
แผนผังเว็บไซต์
ชื่อเข้าใช้ :
รหัสผ่าน :  
   
ติดต่อ Call Center
ติดต่อ Call Center
รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ๒๕๕๗
ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๕๕๗ (ฉบับแก้ไข ๒๕๕๘)
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
คลิกเข้าสู่เว็บไซต์รับฟังความคิดเห็น
คลิกเพื่อรับชมการถ่ายทอดสดฯ


  • ขอเชิญผู้สนใจส่งประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

  • โครงการยกย่องเยาวชนต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ    download_icon

  • กรอบการดำเนินงานสปช.    download_icon

 แสดงทั้งหมด...
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

(เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 2 ต.ค. 57)

Untitled Document
 
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาปฏิรูปแห่งชาติ
กมธ.ปฏิรูปการเมือง แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการฯ

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 1 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

 วันจันทร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา  ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายประสาร มฤคพิทักษ์ โฆษกกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ ๓/๒๕๕๗ ว่าที่ประชุมได้มีการพิจารณาศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง และข้อเสนอแนะในการปฏิรูประบบพรรคการเมือง และการปฏิรูปการเรียนรู้ การปรองดอง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยมีผลการพิจารณา ดังนี้

เรื่องที่หนึ่ง พิจารณาศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง ข้อเสนอแนะในการปฏิรูประบบพรรคการเมือง ในเบื้องต้นที่ประชุมได้มีการพิจารณาข้อเสนอแนะในการปฏิรูปพรรคการเมือง โดยเห็นสมควรบรรจุประเด็นการปฏิรูปไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้
๑. พัฒนาสถาบันพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง โดยสมาชิกพรรคต้องมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้

ความเห็นของที่ประชุม การส่งสมาชิกพรรคลงรับสมัครเลือกตั้งต้องได้รับความเห็นชอบของสมาชิกพรรคการเมืองในพื้นที่เลือกตั้งนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้นายทุนเข้ามาแทรกแซง

๒. พรรคการเมืองมีหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์แห่งชาติ

ประเด็นดังกล่าว ที่ประชุมยังต้องมีการพิจารณารายละเอียดแนวทางการปฏิรูปเพิ่มเติม

๓. การยุบพรรคกระทำได้เฉพาะกรณีหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีการกระทำผิดตามบทบัญญัติมาตรา ๒๓๗  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เนื่องจากเห็นว่า ในอดีตที่ผ่านมา การยุบพรรคการเมืองไม่สมารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ถือเป็นความรับผิดเฉพาะตัวของหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคคนนั้นเอง

๔. การสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐอย่างเหมาะสมและยุติธรรม

ที่ประชุมเห็นควรให้มีการสนับสนุนพรรคการเมืองทั้งในเรื่องทุน และการดำเนินงานอย่างอื่น ส่วนวิธีการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเหมาะสมและยุติธรรมนั้น จะมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง

๕. องค์กรตรวจสอบจริยธรรมพรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

๖. นักการเมืองต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

ประเด็นให้นักการเมืองต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง มีกรรมาธิการขอสงวนความเห็นว่านักการเมืองจะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ แต่ต้ององค์กรควบคุมนักการเมือง

สำหรับประเด็นนักการเมืองท้องถิ่นต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองด้วยหรือไม่นั้น ที่ประชุมเห็นว่าต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

เรื่องที่สอง พิจารณาศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง และข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการเรียนรู้การปรองดอง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ซึ่งในเบื้องต้นที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอแนะการปฏิรูปในด้านดังกล่าว โดยเห็นสมควรบรรจุประเด็นการปฏิรูปไว้ในร่างรัฐธรรมนูญดังนี้

๑.บุคคลย่อมมิสิทธิเสมอกันในการศึกษาเรียนรู้ทางการเมืองตามสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง โดยกำหนดให้มีองค์กรรับผิดชอบและกระบวนการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

๒.รัฐต้องส่งเสริมให้มีกระบวนการและกลไกในการสร้างความปรองดองเพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกภาพชองชาติ ทั้งในยามสถานการณ์ปกติ และกรณีเกิดความขัดแย้ง และมีพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชน เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการปรองดอง และห้ามไม่ให้พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองสร้างความขัดแย้งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

๓.บุคคลย่อมมีสิทธิ และหน้าที่ในการมีส่วนร่วมการใช้อำนาจรัฐและการตรวจสอบการใช้อำนาจ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรสาธารณะและของรัฐ โดยส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสภาพลเมืองให้ทำหน้าที่ดังกล่าว โดยรัฐต้องจัดให้มีระบบและกลไกส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

download download Download all images download