192 ตำรวจเลยระทม อดีตนายอมเงิน'กู้รวมหนี้'!
Source - คมชัดลึก (Th)
Thursday, May 31, 2018 03:19
59952 XTHAI XLEGAL XETHIC DAS V%PAPERL P%KCL
ทีมข่าวอาชญากรรม
สะเทือนวงการสีกากีไม่ใช่น้อย เมื่อมีเรื่องราวส่อเค้าทุจริตเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของผู้เคยเป็น "นายใหญ่"
ตำรวจเมืองเลย ซึ่งทำให้ลูกน้อง 192
คน ต้องเดือดร้อนครั้งใหญ่เพราะอดีตนายชักชวนเข้าร่วม "โครงการบริหารหนี้"
รวบรวมเงินไปกว่า 230
ล้านบาท แต่สุดท้ายถูกเบี้ยว ตกอยู่ในชะตากรรมไม่ต่างจาก "บุคคลล้มละลาย"
กำลังจะถูกยึดบ้าน ยึดรถ!! ไม่มีเงินเลี้ยงดูครอบครัว เรื่องฉาวโฉ่ของ "ตำรวจโกงตำรวจ"
ถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อช่วงสายวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เมื่อมีข้าราชการตำรวจระดับ ผู้กำกับ รองผู้กำกับและสารวัตร
จากสถานีตำรวจต่างๆ ในพื้นที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย (ภ.จว.เลย) เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 (บช.ภ.4) โดยมา ยื่นในฐานะตัวแทนตำรวจที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ ภ.จว.เลย ที่เข้าร่วมโครงการบริหารหนี้ หรือ "กู้รวมหนี้"
เพื่อ เป็นการบริหารจัดการให้ตำรวจที่มีภาระหนี้ต่างๆ นานา ให้เป็นหนี้กับสหกรณ์ที่เดียว แต่ถูกเบี้ยวจาก พล.ต.ต.สุทิพย์ ผลิตกุศลธัชรองผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล (รอง ผบช.สกพ.) ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย (ผบก.ภ.จว.เลย) และเป็นประธานสหกรณ์ที่เป็นคนคิดโครงการนี้ขึ้นมา
โครงการบริหารหนี้ถือเป็นแนวคิดที่ดีหากการดำเนินการเป็นไปตามข้อตกลง โปร่งใส เพราะเป็นโครงการเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือตำรวจที่มีหนี้สินจากหลายทิศทาง ทั้งบ้าน ทั้งรถ และค่าครองชีพต่างๆ โดยโครงการดังกล่าวเริ่มเมื่อปีงบประมาณ 2560 ประมาณเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม โดยให้ตำรวจซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจจังหวัดเลยเป็นหนี้กับสหกรณ์เพียงแห่งเดียว เพื่อป้องกันมิให้สมาชิกสหกรณ์ซึ่งเป็นลูกหนี้ รวมทั้งผู้ค้ำประกันเสี่ยงต่อการถูกเจ้าหนี้จากสถาบันการเงินต่างๆ ฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย ส่งผลให้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามรับราชการตำรวจตามกฎ ก.ตร. ซึ่งสมาชิกสหกรณ์ดังกล่าวจะต้องถูกคำสั่งให้ออกจากราชการ โดยสมาชิกแต่ละรายกู้รวมหนี้ได้ไม่เกิน คนละ 4 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ให้มีการบริหารจัดการหนี้สินที่มีอยู่กับสหกรณ์ตามโครงการกู้รวมหนี้ให้หมดไปโดยเร็ว ถ้าไม่หมดก็จะให้ทุเลาเบาบางลง
แต่มีสาระสำคัญเหมือนบีบบังคับให้เข้าร่วมโครงการกลายๆ ว่า สมาชิกรายใดไม่เข้าร่วมโครงการบริหารหนี้ ไม่มอบเงินให้ พล.ต.ต.สุทิพย์ นำไปบริหารหนี้ให้ สหกรณ์ ก็จะเอาไว้พิจารณาภายหลัง เพราะจะพิจารณาสมาชิกที่ยอมเข้าร่วมโครงการก่อน หรืออาจจะไม่ให้กู้เลย ซึ่งมีไม่กี่คนที่สหกรณ์ให้กู้ โดยไม่เข้าโครงการ โดยให้เหตุผลว่าเงินเดือนเหลือน้อยหนี้สินก็มาก หากไม่เข้าโครงการและมอบเงินให้ พล.ต.ต.สุทิพย์ ไปบริหารหนี้ให้ จะเกิดความเสี่ยงแก่สหกรณ์ เพราะจะเป็นเหตุที่สหกรณ์จะไม่อนุมัติให้กู้
เมื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียดยิ่งจะทำให้การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการไม่ยากนัก เนื่องจากมีการเสนอผลประโยชน์ คือ 1.พล.ต.ต.สุทิพย์ จะรับผิดชอบนำเงินไปผ่อนชำระสถาบันเงินเจ้าหนี้ให้เป็นประจำ ทุกเดือนจนปิดบัญชียอดหนี้ทั้งหมด เมื่อถึงระยะเวลาสิ้นสุดตามโครงการ 3 ปี นับแต่ วันเข้าร่วมโครงการ 2.พล.ต.ต.สุทิพย์ จะจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาทต่อยอดเงินที่สมาชิกเข้าร่วมโครงการ คือ 1 ล้านบาท หรือตามอัตราส่วนร้อยละ 5 เป็นประจำทุกเดือน จนสิ้นสุดโครงการ โดยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์เป็นการตัดยอดหนี้เงินต้นคงเหลือ หลังจากที่สหกรณ์ได้หักเอาเงินต่างๆ ของสมาชิกเป็นรายเดือนตามปกติแล้ว เพื่อจะทำให้ยอดหนี้ของสมาชิกที่มีอยู่กับสหกรณ์มีจำนวนลดลงเป็นประจำทุกเดือน 3.เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามโครงการ 3 ปีนับแต่วันเข้าร่วมโครงการ พล.ต.ต.สุทิพย์ จะคืนเงินให้แก่สมาชิกร้อยละ 50 ของยอดเงิน ที่เข้าร่วมโครงการ เช่น เข้าร่วมโครงการ 1 ล้าน จะได้คืน 5 แสนบาทตามอัตราส่วนของสมาชิกแต่ละคน โดยจะนำไปตัดหนี้สินเงินคงเหลือ ที่สมาชิกมีอยู่กับสหกรณ์ เพื่อจะได้ทำให้ ยอดหนี้ของสมาชิกที่มีอยู่กับสหกรณ์มีจำนวนน้อยลงหรือหมดสิ้นไป และ 4.หากสมาชิก ผู้ใดไม่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการอีกต่อไป พล.ต.ต.สุทิพย์ จะนำเงินไปปิดบัญชีที่สมาชิกเป็นลูกหนี้แก่สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ดังกล่าวให้โดยทันที
โปรไฟล์และผลประโยชน์ของโครงการที่ขีดเขียนไว้อย่างสวยหรู ทำให้ตำรวจเมืองเลยที่เข้าเป็นสมาชิกกับโครงการสบายใจเป็นหนี้แค่ทางเดียว แต่สุดท้ายเหมือนโดน "ฟ้าผ่า" ทั้งที่ไม่มีเค้าฝน หลายคนต่างได้รับการทวงหนี้ จากธนาคารอาคารสงเคราะห์ ว่ามีการค้าง ชำระหนี้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 เป็นต้นมา และธนาคารออมสินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ธนาคารกรุงไทยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 นอกจากนี้ยังมีจากบริษัทไฟแนนซ์รถยนต์ที่กำลังผ่อนชำระอยู่ได้ติดตามทวงถามให้ชำระหนี้และจะยึดรถเป็นจำนวนมาก สร้างความทุกข์ระทมหนัก จนอยู่เฉยไม่ได้ต้องร้องขอความเป็นธรรม
หนึ่งผู้ได้รับผลกระทบยศ "พ.ต.ท."รายหนึ่ง เล่าว่า เนื่องจากขณะนี้สมาชิกซึ่งเป็นลูกหนี้และผู้ค้ำประกันได้ถูกสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทวงหนี้อย่างหนัก บ้าน รถ ที่ ผ่อนอยู่ก็จะยึด ส่วนผู้ที่เป็นหนี้ธนาคารกรุงไทย ก็ถูกธนาคารหักเอาเงินที่มีอยู่ในบัญชีไป จนหมด เพราะทั้งเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงและค่าตอบแทนต่างๆ ที่หน่วยงานโอนเข้าบัญชีให้จะโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย ถึงแม้ยังมีเงินเหลืออยู่ในบัญชีก็ไม่สามารถ เบิกถอนออกมาได้ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เพราะไม่มีเงินมาจุนเจือครอบครัว ตำรวจหลายคนต้องไปขอกู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อไปชำระหนี้ที่ค้างไว้ เพราะธนาคารจะยื่นฟ้องบังคับหนี้แล้ว
"การที่เข้าร่วมโครงการเพราะทุกคนเชื่อในความคิดของผู้บังคับบัญชา และไม่คิด ว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น เพราะทุกคนคิดว่าการกู้รวมหนี้กับสหกรณ์แล้วนำเงินไปชำระหนี้ปิดบัญชีกับสถาบันการเงินหมดภาระหนี้สิน แล้วเป็นหนี้ที่สหกรณ์เพียงที่เดียว" พ.ต.ท.คนเดิม กล่าว
ขณะที่ "ร.ต.ต."
นายหนึ่ง บอกว่า ก่อนจะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้เป็นหนี้ธนาคารและรถกว่า 1 ล้านบาท เห็นเพื่อนที่เข้าร่วมโครงการได้เงินมาปิดหนี้ธนาคารโดยไม่มีปัญหา จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นหนี้ที่เดียวและดอกเบี้ยถูก เมื่อเกษียณไป จะได้ไม่เป็นหนี้ จึงทำเรื่องกู้ไป 1.9 ล้านบาท ซึ่งการกู้ต้องเป็นกลุ่ม โดยมีเพื่อนตำรวจค้ำประกัน 1.พล.ต.ต.สุทิพย์ จะรับผิดชอบนำเงินไปผ่อนชำระสถาบันเงินเจ้าหนี้ให้เป็นประจำ ทุกเดือนจนปิดบัญชียอดหนี้ทั้งหมด เมื่อถึงระยะเวลาสิ้นสุดตามโครงการ 3 ปี นับแต่ วันเข้าร่วมโครงการ 2.พล.ต.ต.สุทิพย์ จะจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนเงิน 5,000 บาทต่อยอดเงินที่สมาชิกเข้าร่วมโครงการ คือ 1 ล้านบาท หรือตามอัตราส่วนร้อยละ 5 เป็นประจำทุกเดือน จนสิ้นสุดโครงการ โดยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์เป็นการตัดยอดหนี้เงินต้นคงเหลือ หลังจากที่สหกรณ์ได้หักเอาเงินต่างๆ ของสมาชิกเป็นรายเดือนตามปกติแล้ว เพื่อจะทำให้ยอดหนี้ของสมาชิกที่มีอยู่กับสหกรณ์มีจำนวนลดลงเป็นประจำทุกเดือน พ.ต.ท.คนเดิม กล่าว
ขณะที่ "ร.ต.ต." นายหนึ่ง บอกว่า ก่อนจะเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้เป็นหนี้ธนาคารและรถกว่า 1 ล้านบาท เห็นเพื่อนที่เข้าร่วมโครงการได้เงินมาปิดหนี้ธนาคารโดยไม่มีปัญหา จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นหนี้ที่เดียวและดอกเบี้ยถูก เมื่อเกษียณไป จะได้ไม่เป็นหนี้ จึงทำเรื่องกู้ไป 1.9 ล้านบาท ซึ่งการกู้ต้องเป็นกลุ่ม โดยมีเพื่อนตำรวจค้ำประกัน ร่วมกันจำนวน 5 คน ต่อ 1 กลุ่ม หลังจากได้อนุมัติเงินแล้ว ได้เรียกให้เข้าไปคุยในห้องคราวละ 3-4 คน ว่าให้นำเงินที่กู้มาซึ่งจะไปปิดหนี้ที่ธนาคารนั้น เอามาให้ พล.ต.ต.สุทิพย์ เพราะจะเอาไปลงทุนให้ได้เงินผลตอบแทน ลงทุน 1 ล้านบาท ได้ 5,000 บาท ส่วน หนี้ธนาคาร พล.ต.ต.สุทิพย์ จะเป็นผู้ส่งให้เอง ถ้าถึง 3 ปี จะปิดบัญชีให้หมด หลังปิดบัญชีแล้วจะคืนเงินให้อีก 5 แสนบาท แต่เดือนมกราคม-เมษายน ที่ผ่านมา ธนาคารส่งหนังสือ มาบอกว่าขาดส่งค่าบ้านมา 3 งวดแล้ว ให้มา ติดต่อ ไม่เช่นนั้นจะฟ้องดำเนินคดี สรุปต้องเป็นหนี้ทั้งธนาคารและสหกรณ์ เครียดจนไม่รู้จะพูดอย่างไร ถ้าธนาคารมายึดบ้านก็ต้องทำใจ
เหมือนจะมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เมื่อ พล.ต.ต.ธนาศักดิ์ ฤทธิเดชไพบูลย์รองผบช.ภ.4 ในฐานะหัวหน้าชุดสืบสวน ข้อเท็จจริง ระบุว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับราชการแต่เป็นความพยายามในการทำโครงการเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือตำรวจที่มีหนี้สิน นอกจากตำรวจ 192 นาย ยังมีการเชิญชวนข้าราชการส่วนอื่นๆ และเอกชนต่างๆ ในพื้นที่มาร่วมลงทุนด้วย บางรายไปฟ้องร้องเป็นการ ส่วนตัวแล้ว บางรายก็เคยมาร้องที่ บช.ภ.4 ก่อนหน้านี้ โดยมูลค่าความเสียหายเงินลงทุนรวม 1 พันล้านบาท ซึ่งตำรวจ 192 คนคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของความเสียหายทั้งหมด หลังจากที่กลุ่มตำรวจเข้าร้องเรียนได้ติดต่อพูดคุยกับ พล.ต.ต.สุทิพย์ เบื้องต้น เกี่ยวกับ การลงทุนดังกล่าว โดยรับว่ามีการจัดตั้งกองทุนจริงและนำไปลงทุนจริง แต่ขณะนี้ติดขัดเรื่องการนำเงินออกมาตามระเบียบกระบวนการทำให้ไม่สามารถคืนเงินให้แก่ ผู้ร่วมลงทุนทั้งหมดได้ และยืนยันว่าเงินทั้งหมดยังอยู่ครบ ทันทีที่ได้เงินคืนก็จะส่งคืน ให้แก่ผู้ร่วมลงทุนทุกราย
ตอนนี้เรื่องร้อนๆ ปนคาวของแวดวงสีกากี มาถึงแม่ทัพตำรวจอย่าง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. แล้ว โดยกำชับสั่งการสอบ ข้อเท็จจริงโดยเร็วภายใน 7 วัน พร้อมให้ บช.ภ.4 ไปหารือกับธนาคารและสถาบันการเงินเพื่อบรรเทาคลายความระทมในเบื้องต้นให้ตำรวจเมืองเลยทั้ง 192 นาย คำถามที่ต้องการคำตอบคือ การกระทำที่ว่านี้จะเข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ด้วยหรือไม่!?--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก