คอลัมน์: ไขปัญหาผู้บริโภค: เชิดชูธุรกิจแก้ปัญหาผู้บริโภค
Source - เดลินิวส์ (Th)
Saturday, February 24, 2018 02:09
45568 XTHAI DAS V%PAPERL P%DND
โดย สคบ.
E-Mail www.ocpb.go.th
เมื่อไม่นานมานี้ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค (คอลเซ็นเตอร์) ประจำปี 2560 เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่มีศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคดีเด่น ที่สามารถบริหารจัดการปัญหาและชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีช่องทางพิเศษในการประสานงานเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการจัดการปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
การมอบรางวัลแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจดังนี้ 1. อสังหาริมทรัพย์ 2. การเงิน/ประกันภัย 3. การสื่อสาร 4. รถยนต์ 5. ธุรกิจค้าปลีก/ธุรกิจขายตรง โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทรางวัล คือ 1. ประเภทยอดเยี่ยม 6 บริษัท ได้แก่ 1. บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด 2. บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) 5. บริษัท เอสซีจี ซิ เมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด 6. บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) 2. ประเภทดีเด่น จำนวน 40 บริษัท ณ ห้องแกรนด์ซี ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
สำหรับรางวัลประกาศเกียรติคุณศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค เป็นรางวัลที่จัดขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจด้านศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค ภายใต้หลักเกณฑ์การคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งประกอบด้วย 2 ประเภทได้แก่
1. รางวัลศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคดีเด่น ที่มอบรางวัลสำหรับบริษัทที่มีกลยุทธ์และนโยบายการจัดการที่ชัดเจน การบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการบริการที่ดี มีกระบวนการให้บริการที่ชัดเจน สามารถวัดผล วิเคราะห์ ทบทวนและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่องในเรื่องต่าง ๆ
2. รางวัลศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคดีเด่น ระดับยอดเยี่ยม รวมทั้งสิ้น 5 สาขา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการมอบรางวัลให้กับบริษัทที่ผ่านเกณฑ์พิจารณาตามหลักประเภทดีเด่น พร้อมด้วยคุณสมบัติเสริมในอีก 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มีประสิทธิผลในการดำเนินการที่ครบถ้วน มีการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค มีกระบวนการและการจัดการข้อร้องเรียน แก้ไขปัญหาการเยียวยาแก่ผู้บริโภคอย่างเป็นระบบ และการรับรองมาตรฐานอย่างถูกต้อง.--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์