พร้อมนำเทคโนโลยเข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจ คปภ.ขันน็อต"ประกันชีวิต-วินาศภัย"
Source - ทรานสปอร์ต เจอร์นัล (Th)
Tuesday, July 04, 2017 05:44
57424 XTHAI XCORP XINSURE DAS V%PAPERL P%TSW
คปภ. จัดประชุมใหญ่ "การจ่ายค่าสินไหมทดแทนประกันชีวิต-วินาศภัย" อย่างเป็นรูปธรรม สร้างความเชื่อมั่นต่อธุรกิจประกันภัยแก่ผู้บริโภค พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าบริหารจัดการให้เป็นไปตามทิศทางการทำงาน ที่กำหนดให้ปี 60 เป็นปีแห่งการขับเคลื่อนประกันภัยในยุคดิจิทัล โดยเน้นย้ำการจัดการสินไหมและการจัดการเรื่องร้องเรียนเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงาน คปภ. ได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559 และประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิต พ.ศ. 2559 เพื่อให้บริษัทมีระบบงานการจัดการสินไหมกระบวนการพิจารณาการชดใช้เงินตามสัญญาประกันภัย และกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนที่ชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีประสิทธิภาพ สร้างความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกัน และทำให้จำนวนเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทด้านการประกันภัยลดลง ส่งผลให้ประชาชนผู้เอาประกันภัยมีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจประกันภัย โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับ ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 และมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2559) เป็นต้นมา
จากข้อเท็จจริงในปัจจุบันพบว่า การปฏิบัติตามประกาศ คปภ. ทั้ง 2 ฉบับ บริษัทประกันภัยยังไม่มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นสำนักงาน คปภ. จึงได้จัดการประชุมชี้แจงการปฏิบัติตามประกาศ คปภ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อให้บริษัทประกันภัยได้รับทราบแนวทางปฏิบัติและมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการดำเนินการตามประกาศฯ ทั้ง 2 ฉบับ ที่ถูกต้องตรงกันและปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อให้ทราบว่าประกาศทั้งสองฉบับมีบทลงโทษ โดยผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำความผิดต่อเนื่อง ยังมีโทษปรับอีกไม่เกินวันละ 20,000บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอีกด้วย บริษัทประกันภัยจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ การจัดประชุมครั้งนี้ยังเป็นโอกาสที่จะมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระดมความคิดเห็น เพื่อให้เกิดแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันในการจัดการเรื่องร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน ทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความเชื่อมั่นในธุรกิจประกันภัย
ทั้งนี้ การจัดการสินไหมเพื่อผู้บริโภคในยุคดิจิทัลถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นไปตามทิศทางการทำงานของสำนักงาน คปภ.ที่กำหนดให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการขับเคลื่อนการประกันภัยในยุคดิจิทัล โดยเน้นย้ำการดำเนินการจัดการสินไหมและการจัดการเรื่องร้องเรียนเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ เช่น การยื่นเรื่องร้องเรียนผ่านทาง website (E-service) ระบบการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัย (E-Recovery) การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ (E-claim) การนำเทคโนโลยีโดรน(Drone) มาใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอาคารที่เกิดวินาศภัย อีกทั้งการใช้เทคโนโลยี Blockchain มาเป็นหนึ่งในกระบวนการตรวจสอบการฉ้อฉลประกันภัยจะช่วยให้การบริหารจัดการเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้บริษัทประกันภัยควรมีการเผยแพร่ข้อยกเว้นที่จะไม่ให้ความคุ้มครองให้ชัดเจนเพื่อให้ลูกค้ารับทราบ ไม่ว่าจะบนเว็ปไซต์ของบริษัทในรูปของ FAQ หรือผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียอื่นๆ กระบวนการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการมีฐานข้อมูลกลางเพื่อใช้ในการตรวจสอบก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ รวมถึงการใช้ระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการประมวลผลเพื่อลดการใช้ดุลพินิจลง ซึ่งในประเทศมาเลเซีย หน่วยงานกำกับดูแลด้านประกันภัยได้กำหนดให้การจ่ายค่าสินไหมทดแทน
--ทรานสปอร์ต เจอร์นัล ฉบับวันที่ 1-15 ก.ค. 2560----จบ--