คอลัมน์: ไขปัญหาผู้บริโภค: ย้ำตรวจสัญญา'ฟิตเนส'
Source - เดลินิวส์ (Th)
Saturday, June 17, 2017 02:21
19159 XTHAI DAS V%PAPERL P%DND
โดย สคบ.
E-Mail www.ocpb.go.th
เทรนด์ของการดูแลสุขภาพและรูปร่างเป็นสิ่งที่ไม่เคยล้าสมัย ไม่ว่าใครก็อยากให้ตนเองดูดี ทั้งรูปร่างหน้าตา ซึ่งหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับการออกกำลังกายในขณะนี้ นั่นคือ การออกกำลังกายใน "ฟิตเนส" เนื่องจากเป็นสถานที่ออกกำลังกายที่มีการให้บริการอุปกรณ์สำหรับใช้ออกกำลังกายอย่างครบครัน มีผู้ช่วยฝึกสอนสำหรับการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง จึงทำให้ฟิตเนสได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหากับผู้บริโภคอยู่บ่อยครั้ง เช่น อุปกรณ์การออกกำลังกายมีไม่ครบตามที่ตกลงไว้ อุปกรณ์มีความชำรุดบกพร่อง ไม่สามารถยกเลิกสัญญาได้อันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ การคืนเงินไม่เป็นไปตามสัญญา ผู้ฝึกสอนไม่มีความรู้ความชำนาญ
ดังนั้น สคบ. โดยคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา จึงมีการออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกาย เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 โดยสาระสำคัญของรูปแบบสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องมี 1) ข้อความที่ระบุในสัญญาต้องเป็นภาษาไทย ตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิ เมตร 2) ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ อัตราค่าสมาชิก ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เรียกเก็บจากสมาชิก เช่น ค่าใช้บริการการออกกำลังกาย ค่าฝึกสอน ค่าธรรม เนียม เป็นต้น
3) ต้องระบุเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเป็นตัวอักษรสีแดง หรือตัวดำ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบว่าเป็นเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการมีสิทธิบอกเลิกสัญญา 4) การบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน 5) ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ หากมีหลักฐานจากทางแพทย์ยืนยันว่า การออกกำลังกายจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ได้รับบาดเจ็บจากการฝึกสอนของผู้ประกอบการโดยไม่มีความรู้ความชำนาญ มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ
6) เมื่อเลิกสัญญาแล้วผู้ประกอบการต้องคืนเงินจากระยะเวลาที่ยังไม่ได้ใช้บริการ ภายใน 30 วัน นับแต่วันเลิกสัญญา 7) กรณีชำระค่าสมาชิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ด้วยบัตรเครดิต ผู้ประกอบการมีหน้าที่แจ้งระงับการเรียกเก็บเงินจากบัตรเครดิตทันที่เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง 8) ผู้บริโภคสามารถโอนสมาชิกให้กับบุคคลอื่นได้ และ 9) การต่อระยะเวลาการใช้บริการของผู้บริโภค เมื่อครบกำหนดรตามสัญญา ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าสมาชิกและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ผู้บริโภคทราบเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 30 วัน
ดังนั้น ก่อนผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกใช้บริการ "ฟิตเนส" ควรมีการตรวจสอบข้อมูลและเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาว่าเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ และหลังจากที่มีการสมัครสมาชิกแล้วสิ่งสำคัญที่ควรเก็บไว้เสมอ คือ เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการร้องเรียนหากเกิดปัญหา
การเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการดังกล่าว หากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการฟิตเนส สามารถร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน สคบ. 1166 หรือร้องเรียนด้วยตนเองที่ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สคบ. ชั้น 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ.--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์