คำถามคำตอบอาเซียน (กุมภาพันธ์ 2561)

2 2561

            สำหรับชุด 10 คำถาม-คำตอบ ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2561 นี้ ประสงค์ให้สาระความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนให้แก่ผู้สนใจ โดยจะพยายามสรรหาองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศสมาชิกของอาเซียนอื่นนอกจากประเทศไทย รวมทั้งภาพรวมของอาเซียนมานำเสนอ ดังนี้

          1. อาหารยอดนิยมของประเทศบรูไน คือ?

          ตอบ อัมบูยัต เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตไม่มีรสชาติ แต่
ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด

 

          2. ดอกซิมปอร์ คือ ดอกไม้ประจำชาติของประเทศใด

          ตอบ  ดอกซิมปอร์(Simpor)  ดอกไม้ประจำชาติบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย 

                3. สัตว์ประจำชาติของประเทศบรูไน คือ ?

          ตอบ เสือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์ประจำชาติบรูไน (อังกฤษ: Tiger, จีน: ญี่ปุ่น: トラสเปน: Tigre) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigrisในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดด้วย

 

          4. กุลเงินใดเป็นสกุลเงินของประเทศบรูไน ?

          ตอบ ดอลลาร์บรูไน ถือกำเนิดใน ค.ศ. 1967 มีการแบ่งหน่วยย่อยเป็น ดอลลาร์ เท่ากับ 100 เซนต์ อัตราแลกเปลื่ยนเท่ากับดอลลาร์สิงคโปร์ บรูไนกับสิงคโปร์ลงนามตกลงอัตราค่าเงินในปี ค.ศ. 1967 ในอดีตบรูไนใช้หอยเบี้ยในการแลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงิน ต่อมาผลิตเหรียญดีบุกเป็นเงินใน ค.ศ. 1868 พัฒนาขึ้นเป็นเหรียญ เซนต์ในอีก 20 ปีต่อมา เหรียญนั้นมีค่า ส่วน 100 ของ ดอลลาร์ช่องแคบ ในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1967 บรูไนออกใช้ธนบัตรชนิดราคา 1, 5, 10, 50, 100 ดอลลาร์; 500 และ 1,000 ดอลลาร์ใน ค.ศ. 1979 และ 10,000 ดอลลาร์ใน ค.ศ. 1989 ธนบัตรบรูไนเขียนบอกมูลค่าเป็นภาษาอังกฤษและภาษามลายู

 

                5. ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน คือ ?

          ตอบ   ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) 
แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคมแบบอนุรักษ์นิยม เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสลิม
 จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย

 

                6. ภาษาประจำชาติบรูไนคือภาษาใด  ?

             ตอบ ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน (รัฐธรรมนูญบรูไน มาตรา 82)


          7.  กฎหมายผังเมืองของประเทศบุรูไนมีหรือไม่ อย่างไร?

          ตอบ ประเทศบรูไน คือ Town and Country Planning (Development Control) [Act] (ที่มา : http://asean-law.senate.go.th/th/law-detail.php?law_id=3226&country_id=1)

 

          8. รัฐธรรมนูญของประเทศบรูไน มีกี่หมวด กี่มาตรา?

          ตอบ รัฐธรรมนูญแห่งประเทศสิงคโปร์ มีจำนวน 12 หมวด รวมทั้งสิ้น 87 มาตรา

(ที่มา: http://www.agc.gov.bn/AGC%20Images/LOB/cons_doc/dokumen-dokumen_perlembagaan_2008.pdf)

           

            9. ตามกฎบัตรอาเซียน การปรึกษาหารือและฉันทามติตัดสินใจของอาเซียน เป็นอย่างไรบ้าง?

          ตอบ  การปรึกษาหารือและฉันทามติ

          1. โดยหลักการพื้นฐานให้การตัดสินใจของอาเซียนอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือและฉันทามติ

          2. หากไม่สามารถหาฉันทามติได้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอาจตัดสินว่าจะทำการตัดสินเฉพาะเรื่องนั้นอย่างไร

          3. ความในวรรค และ ของข้อนี้ ไม่กระทบถึงการตัดสินใจที่ระบุอยู่ในตราสารทางกฎหมายของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง

          4. ในกรณีที่มีการละเมิดกฎบัตรอย่างร้ายแรงหรือการไม่ปฏิบัติตามให้เสนอเรื่องดังกล่าวไปยังที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อการตัดสินใจ

(ที่มา :http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20130528-092411-875705.pdf)

  

          10. การรับสมาชิกใหม่ของอาเซียน มีขั้นตอนการดำเนินงาน อย่างไร

          ตอบ   การรับสมาชิกใหม่ มีเกณฑ์ดังนี้

                   1. กระบวนการในการสมัครและการรับสมาชิกของอาเซียนให้กําหนดโดยคณะ มนตรีประสานงานอาเซียน

                   2. การรับสมาชิกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

                      (ก) ที่ตั้งภูมิศาสตร์อันเป็นที่ยอมรับว่าอยู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                      (ข) การยอมรับโดยรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง

                      (ค) การตกลงที่จะผูกพันและเคารพกฎบัตรอาเซียน และ

                      (ง) ความสามารถและความเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของสมาชิกภาพ

                   3. การรับสมาชิกให้ตัดสินโดยฉันทามติโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียนตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีประสานงานอาเซียน

                   4. รัฐผู้สมัครจะได้รับเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อได้ลงนามภาคยานุวัติสารกฎ บัตรอาเซียน (ที่มา :http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20130528-092411-875705.pdf)
                                                                                                   

                                                                                                                    จัดทำโดย
                                                                                                                                          นายบุญสงค์ ลาคำ

                                                                                                   ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานพัฒนากฎหมาย
                                                                                                             สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา