คำถาม คำตอบ อาเซียน ประจำเดือน ตุลาคม ๒๕๖๐
1. Q : ติมอร์ เลสเต (ประเทศที่แยกตัวจากอินโดนีเซีย) เป็นสมาชิกอาเซียนหรือไม่
A : ปัจจุบัน (๒๕๖๐)ติมอร์เลสเต ไม่ได้เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน แต่ติมอร์เลสเต ได้แสดงความประสงค์ขอเข้าเป็นประเทศสมาชิกอาเซียน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
2. Q : เมื่อเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว คนชาติอื่น ๆ จะได้รับสิทธิ รักษาพยาบาลฟรี เรียนฟรี เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ฯลฯ เช่นเดียวกับคนไทยหรือไม่
A : สวัสดิการเหล่านี้ รัฐบาลไทยให้เฉพาะประชาชนไทยที่มีสิทธิ์เท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบาย
3. Q : สกุลเงิน เรียล เป็นสกุลเงินของประเทศใด
A : ราชอาณาจักรกัมพูชา
4. Q : ภาษาราชการของสมาคมประชาชาติอาเซียนคือภาษาใด
A : ภาษาอังกฤษ
5. Q : เนปิดอ เป็นเมืองหลวงของประเทสใด
A : สหภาพพม่า
6. Q : AEC กับ FTA แตกต่างกันหรือไม่
A : ความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area Agreement) หรือ FTA เป็นความตกลงที่ประเทศตั้งแต่ ๒ ประเทศขึ้นไปจดทำขึ้น เพื่อให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยจะลด และ/หรือยกเลิกอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ส่วนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คือ เป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน เมื่อปี ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ซึ่งมีองค์ประกอบหลายด้าน ทั้งการเปิดเสรีสินค้า บริการ และการลงทุน ดังนั้น ความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างอาเซียนด้านด้านเศรษฐกิจ ภายใต้ AEC จึงถือเป็นความตกลง FTA
7. Q : การเป็น AEC ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง
A : อาจกล่าวโดยสรุปว่า การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับประโยชน์ด้านรายได้เพิ่มขึ้น การบริหารจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน การเปิดเสรีแรงงานฝีมือ (Skilled labour) จะทำให้อาเซียนเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น ผู้บริโภคจะได้เข้าถึงสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพขึ้น มีระบบการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น
8. Q : ภายใต้ AEC ประเทศสมาชิกอาเซียนจะไม่เปิดเสรีได้หรือไม่
A : อาเซียนต้องเปิดเสรีในเรื่องต่างๆ ตามที่ผู้นำได้ให้พันธสัญญา แต่สมาชิกสามารถระบุสาขาหรือกิจกรรมที่ไม่ประสงค์จะให้สิทธิแก่สมาชิกไว้ในตารางสงวน แต่จะต้องนำตารางข้อสงวนนี้ขึ้นมาทบทวนเป็นระยะ
9. Q : ภายใต้ AEC ประเทศสมาชิกอาเซียนจะไม่เปิดเสรีได้หรือไม่
A : อาเซียนต้องเปิดเสรีในเรื่องต่างๆ ตามที่ผู้นำได้ให้พันธสัญญา แต่สมาชิกสามารถระบุสาขาหรือกิจกรรมที่ไม่ประสงค์จะให้สิทธิแก่สมาชิกไว้ในตารางสงวน แต่จะต้องนำตารางข้อสงวนนี้ขึ้นมาทบทวนเป็นระยะ
10. Q : MRAs คืออะไร
A : การจัดทำความตกลงยอมรับร่วม(Mutual Recognition Arrangements : MRAs)ของอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างรัฐบาลของ ๒ ประเทศหรือมากกว่า เพื่อให้มีการยอมรับร่วมบางส่วน หรือทั้งหมดของผลการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าของแต่ละฝ่าย สำหรับสินค้าที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยความตกลงยอมรับร่วม (The ASEAN Framework Agreement on Mutual Recognition Agreement) ในปี ๒๕๔๑ เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินงานสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดทำ MRAs ในสาขาต่าง ๆ ปัจจุบัน อาเซียนได้สรุปผลการจัดทำ MRAs อาทิ สาขาไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ และสาขาเครื่องสำอาง
จัดทำโดย
นายบุญสงค์ ลาคำ
ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานพัฒนากฎหมาย
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา