197110
( เริ่มนับ พฤษภาคม ๒๕๖๐ )
คำถาม-คำตอบอาเซียน 1. ถาม : ASEANs common digital currency คืออะไร? ตอบ สกุลเงินร่วมดิจิทัลของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี blockchain ที่ทำให้การทำธุรกรรมข้ามพรมแดนเกิดขึ้นเกือบทันทีและแทบจะไม่มีต้นทุน ซึ่งจะส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น 2. ถาม : การมีสกุลเงินร่วมดิจิทัลของประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEANs common digital currency) มีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร? ตอบ การเจรจาเพื่อตกลงให้มีสกุลเงินร่วมดิจิทัลคงจะใช้เวลานาน แต่อาเซียนอาจพิจารณาเริ่มนำสกุลเงินร่วมดิจิทัลมาใช้เป็นระยะ เริ่มจากการนำเข้าและส่งออก ก่อนจะขยายสู่การค้าส่ง ค้าปลีก และการทำธุรกรรมส่วนบุคคล โดยอาเซียนอาจศึกษาโมเดลของ Eastern Caribbean Central Bank ที่ปล่อยสกุลเงินดิจิทัล DCash ให้ประเทศในภูมิภาคใช้งาน อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอการมีสกุลเงินร่วมของอาเซียนยังคงมีข้อจำกัด 3 ประการ ได้แก่ (1) การต้องอาศัยความเห็นพ้องร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสร้างสกุลเงินอาเซียน (2) ประเทศสมาชิกอาเซียนอาจเผชิญสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ต่างกัน และจำเป็นต้องใช้นโยบายทางการเงินที่ต่างกันในการแก้ปัญหา เช่น อัตราเงินเฟ้อสูงหรือต่ำ ปริมาณการส่งออกตกต่ำ และวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ การมีสกุลเงินร่วมจึงไม่มีความยืดหยุ่นให้แต่ละประเทศสามารถใช้นโยบายทางการเงินที่ต่างกันไปตามสถานการณ์ได้ (3) ประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมาก 3. ถาม : ASEAN A.C.T.: Addressing Challenges Together มีความหมายอย่างไร? ตอบ : ความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียน และการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อให้สามารถรับมือปัญหาท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคและประชาชนในอนาคต 4. ถาม : วันชาติของประเทศบรูไน คือวันใด และคนบรูไนนิยมทำกิจกรรมใด? ตอบ : วันที่ 23 กุมภาพันธ์ วันชาติของบรูไน เป็นวันที่บรูไนได้รับเอกราชในปี 1984 ถือว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่ชาวบรูไนภาคภูมิใจ โดยจะนิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส บนถนนประดับไปด้วยธงประจำชาติ และมัสยิดทั่วประเทศมีการทำพิธี เพื่อเฉลิมฉลองความเป็นอิสรภาพของประเทศ 5. ถาม : อาเซียนมีแถลงการณ์ต่อสถานการณ์ยูเครนอย่างไร? ตอบ : แถลงการณ์อาเซียน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ความว่า อาเซียนมีความกังวลอย่างยิ่งต่อพัฒนาการและการใช้อาวุธในยูเครน พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดทน อดกลั้น อย่างที่สุดและพยายามให้เกิดการเจรจาในทุกช่องทาง รวมถึงช่องทางการทูตเพื่อลดความตึงเครียด และแสวงหาแนวทางสันติภาพบนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ (แถลงการณ์อาเซียนต่อสถานการณ์ยูเครน สำนักเลขาธิการอาเซียนเผยแพร่แถลงการณ์ของ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนว่าด้วยสถานการณ์ในยูเครน เมื่อ 26 ก.พ.65) นายทศวิณหุ์ เกียรติทัตต์ วิทยากรชำนาญการพิเศษ