196727
( เริ่มนับ พฤษภาคม ๒๕๖๐ )
คำถาม-คำตอบอาเซียน 1. ถาม : การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน - สหรัฐฯ (SEOM-AUSTR) ครั้งที่ 33 เมื่อวันที่ 14-15 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการหารือเรื่องใดบ้าง? ตอบ : ในการประชุมดังกล่าวเป็นหารือแผนงานความร่วมมือภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน สหรัฐฯ และเป็นติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ภายใต้แผนงานความร่วมมือภายใต้กรอบ ความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน - สหรัฐฯ และยังได้หารือแผนงานความร่วมมือฉบับต่อไป (2564-2565) ซึ่งครอบคลุมระยะเวลา 1 ปี โดยมีกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เช่น การเชื่อมโยงระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน ไปยังสหรัฐฯ และประเทศคู่เจรจาอื่น 2. ถาม : ความตกลงว่าด้วยกรอบข้อบังคับด้านความปลอดภัยอาหาร (ASEAN Food Safety Regulatory framework Agreement: AFSRF Agreement) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว มีสาระสำคัญอย่างไร? ตอบ : ความตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินการทั้งหมดอย่างบูรณาการ และครอบคลุมความปลอดภัยอาหารของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค และอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของอาหารปลอดภัย ในอาเซียน โดยลดอุปสรรคทางการค้าอาหารภายในอาเซียนให้เหลือน้อยที่สุด และลดความแตกต่างของระบบการควบคุมของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้รัฐสมาชิกต้องปฏิบัติตาม ดังนี้ 1. จัดให้มีระบบการควบคุมความปลอดภัยอาหาร และนำระบบนั้นไปใช้ดำเนินการตลอดห่วงโซ่อาหาร ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการผลิต การแปรรูป การกระจายสินค้า เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอาหารที่นำไปวางตลาดมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์และกำหนดมาตรการพร้อมบทลงโทษ 2. ต้องยอมรับผลการตรวจสอบ การรับรอง และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ของรัฐสมาชิกอื่นตามที่กำหนดไว้ในความตกลงนี้ 3. จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านความปลอดภัยอาหารอาเซียน (ASEAN Food Safety Committee: AFSCC) 4. ต้องระบุหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ด้านความปลอดภัยอาหารของตน และแจ้งให้สำนักเลขาธิการอาเซียนทราบ สำหรับหน่วยงานของไทย คือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) 5. ให้ใช้พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน มาใช้ในการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ และตีความหรือการปฏิบัติตามความตกลงนี้ 3. ถาม : ใครคือผู้ที่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ได้เสนอ ให้เป็นผู้แทนพิเศษที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยในการเจรจาระหว่างรัฐบาลทหารของเมียนมาและกองกำลังสนับสนุนประชาธิปไตยในอนาคต? ตอบ : นายลิม จ็อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน และนายเอรีวัน เปฮิน ยูซอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศบรูไนคนที่ 2 4. ถาม : การประชุมอาเซียนบวกสาม เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ มีการหารือเรื่องใดบ้าง? ตอบ : ในการประชุมอาเซียนบวกสาม ครั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้รับทราบความคืบหน้า การดำเนินการตามแผนงานความร่วมมืออาเซียนบวกสาม 2018 ในมิติต่าง ๆ อาทิ การรับมือกับสถานการณ์โควิด-๑๙ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยง และย้ำถึงความสำคัญของอาเซียนบวกสามในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในเอเชียตะวันออก และหารือแนวทางเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาคในการรับมือกับความท้าทายในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้ผลักดันให้ขยายความร่วมมือในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ เศรษฐกิจดิจิทัล ความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน ข้อตกลงระเบียงการเดินทางของอาเซียน และ ให้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อการฟื้นฟูที่ยั่งยืน 5. ถาม : สิ่งใดเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคในอนุทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (BIMSTEC) ทางการค้าและการลงทุนตลอดจนความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ? ตอบ : สิ่งใดเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือดังกล่าว คือ ความไม่เข้าใจและนำไปสู่การแบ่งแยกจากความเชื่อผิด ๆ ซึ่งนักธุรกิจและนักลงทุนไทยต้องเข้าใจถึงปัจจัยทางด้านสังคม-วัฒนธรรม ที่มีนัยสำคัญต่อการค้าและการลงทุนในกลุ่มบิมสเทค การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศ บิมสเทคควรมีการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักและเข้าใจถึงปัจจัย ที่จะส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม โดยเฉพาะปัจจัยด้านจิตวิทยาวัฒนธรรมที่จะส่งผลต่อการรวมกลุ่ม ประสานประโยชน์ และการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในฐานะกลุ่มประเทศสมาชิกบิมสเทคปัจจัยด้านจิตวิทยาวัฒนธรรม หรือรูปแบบการคิดและรับรู้ที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกมากกว่ารวมกลุ่มอาจเป็นผลมาจากภูมิรัฐศาสตร์สมัยใหม่ที่แบ่งแยกกลุ่มประเทศเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงบริบทของการแบ่งแยกในทางประวัติศาสตร์ นายทศวิณหุ์ เกียรติทัตต์ วิทยากรชำนาญการพิเศษ