197107
( เริ่มนับ พฤษภาคม ๒๕๖๐ )
คำถาม-คำตอบอาเซียน 1. ถาม : การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 5 (The 5th ASEAN Ministerial Conference on Cybersecurity : AMCC) และการประชุม AMCC วาระพิเศษ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 9 ตุลาคม 2563 ผ่านระบบการประชุมทางไกล มีข้อหารือ ที่ตระหนักถึงความสำคัญด้านใด? ตอบ : ในการประชุมดังกล่าวมีมีข้อตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19) ทำให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของภูมิภาคผ่านการปกป้อง โครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ รวมทั้งแนวทางการจัดทำแผนงานด้านบรรทัดฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค โดยที่ประชุมเห็นพ้องยึดหลัก 4P ในการร่วมมือด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ครอบคลุม Principle (หลักการ), Practice (การปฏิบัติ), Process (กระบวนการขับเคลื่อน) และ People Partnership and Pandemic (การพัฒนาศักยภาพบุคลากร) 2. ถาม : การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ 52 เมื่อวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2563 ผ่านการประชุมทางไกล มีผลการประชุมที่สำคัญอย่างไรบ้าง? ตอบ 1.รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2563 โดยอาเซียนดำเนินการแล้วเสร็จ 2 จาก 13 ประเด็น ได้แก่ การจัดทำดัชนีวัดการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียนและการจัดตั้งเครือข่ายศูนย์นวัตกรรมในอาเซียน 2.แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์และการตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) โดยเน้นย้ำความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการจัดทำกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน 3. เร่งรัดให้สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ลงนามความตกลงการค้าบริการอาเซียนภายในปี 2563 เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถเริ่มกระบวนการให้สัตยาบันความตกลงการค้าบริการอาเซียนและมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด 4. เร่งรัดให้บรูไนดารุซซาลาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ดำเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อให้สัตยาบันความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนเพื่อให้สามารถมีผลใช้ได้ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 เดือนพฤศจิกายน 2563 5. เน้นย้ำความสำคัญของการปฏิรูปองค์การการค้าโลก (WTO) โดยเฉพาะ การผลักดันการแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ในตำแหน่งที่ว่างอยู่ 3. ถาม : หากนักลงทุนมีความสนใจที่จะไปลงทุนในประเทศเมียนมา เมืองใดเป็นพื้นที่ ที่เหมาะสมต่อการลงทุนบ้าง? ตอบ : การเลือกเมืองเพื่อลงทุนในเมียนมาเป็นสิ่งสำคัญกับนักลงทุน พื้นที่ที่เหมาะสมกับ การลงทุนในเมียนมาประกอบไปด้วย 3 พื้นที่ ได้แก่ 1. นครเนปิดอว์ (Nay Pyi Daw) : เมืองหลวงและศูนย์ราชการ 2. กรุงย่างกุ้ง (Yangon) : ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมียนมา 3. เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) : ศูนย์กลางเศรษฐกิจตอนบนของเมียนมา 4. ถาม : ประเทศในอาเซียนประเทศใดมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคบ้าง และกฎหมายดังกล่าวของแต่ละประเทศมีชื่อว่าอะไร? ตอบ : ประเทศที่มี 1. ประเทศมาเลเซีย มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection Act 1999) 2. ประเทศสิงคโปร์ มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (การค้าอย่างเป็นธรรม) (CONSUMER PROTECTION (FAIR TRADING) ACT) 3. ประเทศบรูไน มีคำสั่งว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค (การค้าอย่างเป็นธรรม) (CONSUMER PROTECTION (FAIR TRADING) Order) 4. ประเทศเมียนมา มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค (CONSUMER PROTECTION LAW) 5. ประเทศไทย มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ประเทศที่ไม่มี 1. ประเทศลาว 2. ประเทศเวียดนาม 3. ประเทศกัมพูชา 4. ประเทศอินโดนิเซีย 5. ประเทศฟิลิปปินส์ 5. ถาม : ประเทศใดในอาเซียนที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในโลก จากดัชนีฐานชี้วัดจากการทำกำไร (Baseline Profitability Index : BPI) โดยครอบคลุม 110 ประเทศ จาก 6 ทวีปทั่วโลก และได้รับการเผยแพร่ในนิตยสาร Foreign Policy ตอบ : 1. ประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่อันดับ 4 2. ประเทศมาเลเซีย อยู่อันดับที่ 6 นายทศวิณหุ์ เกียรติทัตต์ วิทยากรชำนาญการพิเศษ