196738
( เริ่มนับ พฤษภาคม ๒๕๖๐ )
คำถาม-คำตอบอาเซียน
1. ถาม : ประธานอาเซียนคนปัจจุบัน คือใคร? มีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี? และมีหน้าที่ใดบ้าง?
ตอบ : ประธานอาเซียนคนปัจจุบันคือ นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ประธานอาเซียนเป็นตำแหน่งสูงสุดของอาเซียน โดยผู้นำประเทศในกลุ่มอาเซียน
ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นวาระละ 1 ปีสลับกันไปเรื่อย ๆ ตำแหน่งนี้นอกจากจะเป็นประธาน
ในการประชุมใหญ่ ๆ ของอาเซียนแล้วต้องรั้งตำแหน่งตามกลไกทุกส่วนของอาเซียนด้วย เช่น
เป็นประธานมนตรีประสานงานอาเซียน เป็นประธานมนตรีประชาคมอาเซียนคณะต่าง ๆ ตลอดจน
เป็นประธานผู้แทนถาวรประจำอาเซียน
2. ถาม : การประชุมในระดับคณะเจ้าหน้าที่ของอาเซียน มีกี่ด้าน และมีหน้าที่ใดบ้าง?
ตอบ : - ด้านการเมือง คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน (ASEAN Senior Officials Meeting SOM) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียน ทำหน้าที่ดูแลความร่วมมือของอาเซียน
ด้านการเมืองและความมั่นคง รวมถึงประเด็นสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเมือง
- ด้านเศรษฐกิจ คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (ASEAN Senior Economic Officials Meeting SEOM) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงที่รับผิดชอบงานเศรษฐกิจของอาเซียนทำหน้าที่ดูแลความร่วมมือของอาเซียนด้านเศรษฐกิจ
- คณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee ASC) คณะกรรมการประจำอาเซียนประกอบด้วย เลขาธิการอาเซียนและอธิบดีกรมอาเซียนของแต่ละประเทศสมาชิก
ทำหน้าที่ดูแลดำเนินงาน ติดตามผล และพิจารณาทบทวนการปฏิบัติงานของอาเซียน เพื่อให้เกิด
ความต่อเนื่องและอาจตัดสินใจในเรื่องเร่งด่วนได้ คณะกรรมการประจำอาเซียนนี้ ถือเป็นศูนย์กลางในการประสานงานดูแลรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ โดยปกติจะมีการประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียนปีละ 4-5 ครั้ง ซึ่งประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนจะเป็นเจ้าภาพจัด
การประชุม ASC ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย นอกนั้นจะจัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียน
- ด้านการคลัง คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลังอาเซียน (ASEAN Deputy Finance and Central Bankers Meeting AFDM) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน
-เฉพาะด้าน เช่น คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านยาเสพติด (ASEAN Senior Officials Meeting on Drugs Matters ASOD) ด้านสิ่งแวดล้อม (ASEAN Senior Officials on the Environment ASOEN) คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee On Science and Technology COST) คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (ASEAN Senior Official on Social Welfare SWD) คณะกรรมการอาเซียนด้านวัฒนธรรมและสนเทศ (ASEAN Committee on Culture and Information COCI) คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาชนบทและการแก้ไขปัญหาความยากจน (Senior Officials Meeting on Rural Development and Poverty Eradication SOMRDPE) ฯลฯ การประชุมร่วมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับอธิบดีอาเซียน (Joint Committee Meeting JCM) เป็นการประชุมร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจ และคณะกรรมการประจำอาเซียน (อธิบดีกรมอาเซียน) ที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียนในแต่ละปี ทั้งด้านสารัตถะและพิธีการ
3. ถาม : การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 ที่ได้มีการประกาศแถลงการณ์ร่วมรับมือสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 เดินหน้ารักษาตลาดอาเซียน จัดขึ้นที่ใด ระหว่างวันที่เท่าไร?
ตอบ : การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 11 มีนาคม ณ เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของโลกและอาเซียน
4. ถาม : แนวคิดอาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว (Cohesive and Responsive ASEAN) มีกี่ด้าน อะไรบ้าง?
ตอบ : อาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว (Cohesive and Responsive ASEAN) โดยแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ได้แก่
1. ด้านการส่งเสริมการบูรณาการและความเชื่อมโยงภายในอาเซียน เช่น การส่งเสริมอาเซียน
ให้เป็นภูมิภาคที่ใช้ดิจิทัลร่วมกัน การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะในประเทศอาเซียน
การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาคให้เป็นระบบเดียวกัน
2. ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาเซียนกับประชาคมโลก เช่น การลงนาม
ความตกลง RCEP ในปีนี้
3. ด้านการเสริมสร้างอาเซียนให้พร้อมปรับตัวและมีศักยภาพมากขึ้น เช่น การสร้างเครือข่ายศูนย์นวัตกรรมของประเทศในอาเซียน และการจัดทำแผนงานด้านความมั่นคงอาหาร เป็นต้น
5. ถาม : วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (พ.ศ. 2563) คืออะไร? และมีที่มาอย่างไร?
ตอบ : อาเซียนมีวิสัยทัศน์สู่ภายนอก มีสันติสุข และมีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในการเป็นหุ้นส่วน
ในสิ่งแวดล้อมของประชาธิปไตยและอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน การพัฒนาที่มีพลวัตร และการรวมตัว
ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดและในสังคมที่เอื้ออาทร ที่ระลึกถึงสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นทางประวัติศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันและเชื่อมโยงในอัตลักษณ์ของภูมิภาค
วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (พ.ศ. 2563) เกิดจากคำประกาศของผู้นำรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
ของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย
นายทศวิณหุ์ เกียรติทัตต์
วิทยากรชำนาญการพิเศษ