197167
( เริ่มนับ พฤษภาคม ๒๕๖๐ )
คำถาม-คำตอบอาเซียน 1. ถาม : โครงการ GBA คืออะไร? มีเกี่ยวข้องกับประเทศอาเซียนอย่างไร? ตอบ : โครงการ GBA (Greater Bay Area) หรือที่เรียกว่า โครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า เป็นโครงการที่มีความสำคัญมากสำหรับจีน เพราะถือว่าเป็นแผนปฏิบัติการ (action plan) ของข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI) ซึ่งโครงการนี้เกิดขึ้นมาจากการศึกษา การเติบโตของ Bay Area ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น นิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก และโตเกียว แล้วนำมาเป็นโมเดลในการพัฒนา ดังนั้น นโยบายของมณฑลกวางตุ้งจึงเน้นการผลักดัน GBA เป็นสำคัญ ภายใต้นโยบาย GBA นั้น ฮ่องกง กวางตุ้ง และมาเก๊า จะเป็นหัวหอกในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างเส้นทางสายไหมใหม่ (One belt one road) กับอาเซียนและประเทศต่าง ๆ ในโลกโดยมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นจุดเชื่อมทางด้านการค้าและการลงทุนของมณฑล กวางตุ้งในอนาคต 2. ถาม : ห้องสมุด library@harbourfront อยู่ในอาเซียนประเทศใด มีความแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไป อย่างไร? และมีแนวคิดในการเลือกสถานที่ตั้งอย่างไร? ตอบ : library@harbourfront เป็นห้องสมุดบนห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสิงคโปร์ เปิดเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2562 มีพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร บนชั้น 3 ของห้างสรรพสินค้า VivoCity โดยมีหนังสือ 2 แสนเล่ม นิตยสารหลายหัวจากต่างประเทศ หนังสือพิมพ์ดิจิทัล (e-newspaper) รวมทั้ง สื่อโสตและเสียงไว้ให้ผู้ใช้บริการ โดยแบ่งเป็น 2 โซน ได้แก่ โซนเด็ก (Childrens area) และวัยรุ่น-ผู้ใหญ่ (Adults and teens section) ที่มีสื่อและหนังสือแตกต่างกันตามวัย มีพื้นที่เอื้ออำนวยให้ครอบครัวมาทำกิจกรรมร่วมกันที่ห้องสมุด แนวคิดเรื่องการย้ายห้องสมุดชุมชนมาไว้บนห้างสรรพสินค้าเริ่มขึ้นเมื่อหลายปีก่อนท่ามกลางวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนเมืองที่มีเวลาจำกัด ต้องการความสะดวกสบาย สอดคล้องกับการที่รัฐบาล มีนโยบายที่จะทำให้สิงคโปร์เป็น Smart nation ทำประเทศให้ทันสมัยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ห้องสมุดก็ถูกนิยามว่าควรเข้าถึงง่าย 3. ถาม : บริษัทสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นในประเทศอาเซียนมีกี่บริษัท? และประทศใดในอาเซียน มีบริษัทสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นจำนวนมากที่สุด? ตอบ : บริษัทที่อยู่ในระดับ Unicorn หรือเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีรายได้มูลค่ากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในภูมิภาคอาเซียนมีด้วยกัน 8 บริษัท คือ 1) Grab ธุรกิจบริการเรียกรถ มูลค่า 6,000 ล้านดอลลาร์ : มาเลเซีย/สิงค์โปร์ 2) sea connecting the dots ธุรกิจเกมออนไลน์ e-wallet และอีคอมเมิร์ซ มูลค่า 6,000 ล้านดอลลาร์ : สิงค์โปร์ 3) GO JEK ธุรกิจบริการเรียกรถ มูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์ : อินโดนีเซีย 4) traveloka ธุรกิจบริการจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม มูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ : อินโดนีเซีย 5) tokopedia ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์ : อินโดนีเซีย 6) VNG GAME STUDIO ธุรกิจเกม, โซเชียลมีเดีย มูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ : เวียดนาม 7) Bukalapak ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 1,000 ล้านดอลลาร์ : อินโดนีเซีย 8) R REVOLUTION PRECRAFTED ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ : ฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศในอาเซียนที่มีบริษัทสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นมากที่สุด ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีถึง 4 บริษัท 4. ถาม : ธุจกิจด้านใดในอาเซียนที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น และมีเหตุปัจจัยอะไรบ้าง? ตอบ : ธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นในอาเซียนคือ ธุรกิจค้าปลีก ซึ่งมีเหตุปัจจัย ดังนี้ (1) พฤติกรรมผู้บริโภคอาเซียนที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งนับเป็นโอกาสในการขยายการลงทุน (2) กำลังซื้อของประชากรที่เพิ่มขึ้นและการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) (3) การขยายตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียน 5. ถาม : ประเทศใดในอาเซียนมีกฎหมายเกี่ยวกับโรคติดต่อที่มีชื่อเหมือนกับพระราชบัญญัติโรคติดต่อของประเทศไทย? ตอบ : ประเทศสิงค์โปร มีกฎหมายที่ชื่อว่า Infectious Diseases Act, Cap. 137 (Part V) ซึ่งมีชื่อ ตรงกับชื่อกฎหมายของไทย คือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ (Infectious Diseases Act) นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศอื่นก็มีกฎหมายที่เกี่ยวกับโรคติดต่อในชื่อที่ต่างกัน สามารถสืบค้นได้เพิ่มได้ที่ : http://asean-law.senate.go.th/th/subject-select.php?sgid=8&sid=31 นายทศวิณหุ์ เกียรติทัตต์ วิทยากรชำนาญการพิเศษ