196754
( เริ่มนับ พฤษภาคม ๒๕๖๐ )
สำหรับชุด 10 คำถาม-คำตอบ ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ประจำเดือน สิงหาคม 2561นี้ ขอนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศสมาชิกของอาเซียน ดังนี้
1. ถ้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ประเทศใดในอาเซียน?
ตอบ ถ้ำ The Sarawak Chamber หรือ ถ้ำซาราวัค แซมเบอร์ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของ อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู(Gunung Mulu National Park) บนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซีย ถ้ำแห่งนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดของตัวถ้ำที่มีความยาวประมาณ 700 เมตร (2,300 ฟุต) กว้างประมาณ 300 เมตร (980 ฟุต) และมีความสูงอย่างน้อย 70 เมตร (230 ฟุต)
ที่มา http://www.uasean.com/kerobow01/525
2.สกุลเงินของประเทศอินโดนีเซียคือ?
คำตอบ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้สกุลเงิน รูเปียห์ โดยอัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปียห์ = 2.29 บาท ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์
3. วันแม่แห่งชาติ ของประเทศในอาเซียนตรงกับวันไหนบ้าง?
ตอบ วันแม่แห่งชาติของประเทศในอาเซียน แต่ละประเทศก็มีกำหนดวันสำคัญซึ่งถือให้เป็นวันยกย่องเทิดทูนเพศหญิงซึ่งเป็นเพศแม่ และสำหรับของประเทศไทยกำหนดตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ดังนี้
1. พม่า วันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี
2. ลาว วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี
3. เวียดนาม วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี
4. มาเลเซีย วันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี
5. สิงค์โปร์ วันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี
6. อินโดนีเซีย วันที่ 22 ธันวาคม ของทุกปี
7. ฟิลิปปินส์ วันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี
8. กัมพูชา วันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี
9. บรูไน วันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี
10.ไทย วันที่ 12 ของเดือนสิงหาคมของทุกปี
4. จีนปรับอัตราภาษีศุลกากรปี 2561 มีผลกระทบต่ออาเซียนอย่างไร?
ตอบ รัฐบาลจีนได้ปรับอัตราภาษีศุลกากรปี 2561 โดยได้ปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวจากอัตรา 5% เป็น 50% มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2561 ส่งผลให้ภาษีนำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์รวม 5 รายการ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 50% ด้วยเช่นกัน เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราภาษีศุลกากรปี 2561 ซึ่งได้แก่ ข้าวเปลือกเหมาะสำหรับทำพันธุ์ของข้าวอื่นๆ, ข้าวเปลือกอื่นๆ ของข้าวอื่นๆ, ข้าวกล้องของข้าวอื่นๆ, ข้าวที่ผ่านหรือไม่ผ่านกระบวนการขัดสีและขัดมันที่เป็นข้าวอื่นๆ และแป้งข้าวเจ้าอื่นๆ ซึ่งในปี 2560 จีนนำเข้าจากไทย รวมถึงเวียดนาม เมียนมา สหรัฐ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการส่งออกโดยภาคเอกชนไทยทั้งสิ้น แต่การปรับขึ้นภาษีดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการส่งออกข้าวของไทยตามสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับรัฐบาลจีน โดยเสียภาษีนำเข้าเพียง 1% ส่วนรายการที่จีนปรับขึ้นภาษี ไทยส่งออกไปจีนน้อยมาก เช่น แป้งข้าวเจ้าอื่นๆ หรือข้าวกล้องของข้าวอื่น ๆ เป็นต้น แต่จะมีผลกระทบกับประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม เป็นต้น
5.การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ใด?
ตอบ คณะผู้แทนไทยจากภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 3 และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจไทย-เวียดนาม ระหว่างวันที่ 2 - 3 สิงหาคม 2561 ณ กรุงฮานอย เห็นพ้องที่จะกระชับความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เพื่อจับมือกันขยายมูลค่าทางการค้าท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางการค้าโลกที่ผันผวนไม่แน่นอน เพื่อบรรลุเป้าหมายการค้าที่ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2563
6.ปัจจุบันประเทศเวียดนามเป็นคู่ค้าอันดับที่เท่าไรของประเทศไทยในอาเซียน?
ตอบ ปัจจุบันเวียดนามเป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 ของไทยในอาเซียน และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 5 ของไทยในโลก การค้าของไทยกับเวียดนามในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2556-2560) มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณปีละ 13,141.13 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.74 ต่อปี ในปี 2560 การค้ารวมไทย-เวียดนาม มีมูลค่า 16,634.99 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญไปเวียดนาม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ ขณะที่สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน น้ำมันดิบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
7. ประชาคมอาเซียนจะกำหนดนโยบายของไทยหรือไม่ อย่างไร?
ตอบ การเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนไม่ได้หมายความว่าอธิปไตยของไทยในเรื่องต่างๆ เช่น นโยบายการคลังหรือนโยบาย การต่างประเทศจะหายไป เนื่องจากอาเซียนไม่ใช่เป็นองค์กรในลักษณะที่มีอำนาจเหนือรัฐสมาชิก (Supranational Organization) ซึ่งอาจต่างจากองค์กรอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป การตัดสินใจในเรื่องระดับนโยบายขึ้นอยู่กับประเทศสมาชิกอาเซียน แม้ว่าอาเซียนอาจจะมีการ ประสานงานในเรื่องนโยบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ที่ชัดเจนคืออาเซียนเองยังไม่มีแผนงานที่จะมีนโยบาย การคลังหรือนโยบายต่างประเทศร่วม
8. ความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของอาเซียน คือ?
ตอบ รัฐบาลไทยได้ลงนามในกฎบัตรของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Charterof the Association of Southeast Asian Nations) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และกฎบัตรดังกล่าวกำหนดให้รัฐสมาชิกให้ความคุ้มกัน และเอกสิทธิ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่แก่อาเซียน เลขาธิการอาเซียน พนักงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ผู้แทนถาวรของรัฐสมาชิกประจำอาเซียน และเจ้าหน้าที่ของรัฐสมาชิกอาเซียน ดังนั้น เพื่อคุ้มครองการดำเนินงานของอาเซียนในประเทศไทย และได้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2551 ต่อมารัฐบาลไทยได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Agreement on the Privileges and Immunities of the Association of Southeast Asian Nations) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นพันธกรณีประการสำคัญที่ประเทศไทยต้องดำเนินการเพิ่มเติมความคุ้มครองจากที่กำหนดไว้ในกฎบัตรของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกำหนดการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีชื่อเรียกทั่วไปว่า อาเซียน และกรณีต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน จึงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2551 กล่าวคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
9.การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 51 จัดขึ้นที่ใด?
ตอบ รมว.กต.นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 51 และการประชุมที่เกี่ยวข้องที่ประเทศสิงคโปร์ (1 - 4 ส.ค. 61) เพื่อสนับสนุนความร่วมมือภายในอาเซียน และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
10.ไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเมียนมามาเป็นระยะเวลาเท่าใด?