แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของประเทศไทยด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำรายงานนำเสนอในการประชุม
รายการโทรทัศน์ ASEAN Law
รายการวิทยุรัฐสภา
วีดิทัศน์ศูนย์ประชาคมอาเซียน
แบบสอบถาม
แบบติดตามการใช้ประโยชน์เว็บไซต์
รายการโทรทัศน์ ขบวนการคนตัวเล็ก


จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
FAQ
คำถาม - คำตอบอาเซียน (มีนาคม 2564)

วันที่ 5 เม.ย. 2564

คำถาม-คำตอบอาเซียน


1. ถาม : การประชุมคณะ HLTF-EI ครั้งแรกของปี 2564 มีสาระสำคัญอย่างไร?  

ตอบ : การประชุม HLTF-EI หรือการประชุมคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่ม

ทางเศรษฐกิจของอาเซียน (High Level Task Force on ASEAN Economic Integration : HLTF-EI) ได้จัดให้มีการประชุมครั้งแรกของปี 2564 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 39เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินการด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมาและวางทิศทางการทำงานในอนาคต รวมถึงการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนภายหลังปี 2568 โดยที่ประชุมได้ร่วมกันประเมินผลการทำงานตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 (AEC Blueprint 2025) เพื่อนำไปประกอบการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนฉบับต่อไป รวมทั้งหารือในประเด็นเศรษฐกิจสำคัญที่บรูไนฯ ในฐานะประฐานอาเซียนจะเสนอให้ดำเนินการภายในปี 2564 ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการฟื้นฟู ด้านการเป็นดิจิทัล และด้านความยั่งยืน โดยเฉพาะประเด็นใหม่ ๆ เช่น การจัดทำกรอบการทำงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียน ซึ่งไทยได้เสนอ “โมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green (BCG)” ให้เป็นตัวอย่างในการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และภูมิภาค รวมทั้งการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (4IR) ซึ่งจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการดำเนินการด้านเศรษฐกิจของอาเซียนในช่วงสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญ

 

2. ถาม : หลังการประชุมพิเศษในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองในเมียนมา ที่จัดขึ้นในวันที่ 2 มีนาคม 2564 มีแถลงการณ์ออกมาอย่างไรบ้าง? 

ตอบ : รัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)ได้เรียกร้องให้ลดความรุนแรงของสถานการณ์ประท้วงในเมียนมา และขอให้มีการเจรจาเพื่อหาทางออกอย่างสันติในการแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองหลังการก่อรัฐประหาร พร้อมทั้งแนะนำให้อาเซียนมีบทบาทมากขึ้น แถลงการณ์ของกลุ่มอาเซียนที่ออกมาหลังการประชุมออนไลน์ระบุว่า กลุ่มรัฐมนตรีแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายละเว้นจากการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น และขอให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้นให้ถึงที่สุด รวมไปถึงใช้ความยืดหยุ่นอย่างเต็มที่นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหาทางออกอย่างสันติผ่านทางการเจรจาที่สร้างสรรค์ และประนีประนอมกันเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนด้วย

 

3. ถาม : ใครเป็นผู้ขอให้มีการจัดประชุมผู้นำชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อพูดคุยถึงการแก้วิกฤตในประเทศเมียนมา?

ตอบ : นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เรียกร้องเมื่อวันศุกร์ 19 มีนาคม 2564

 

4. ถาม : ประเทศใดในอาเซียนที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด- 19 เป็นประเทศแรก?

ตอบ : ประเทศแรกในอาเซียนที่เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 คือ ประเทศสิงค์โปร์ โดยเริ่มฉีด เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ขณะนี้มีประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดสแรกไปแล้วอย่างน้อย 799,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มีนาคม 2564)

 

5. ถาม : ความตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน (China-ASEAN Free Trade Area: CAFTA) มีวัตถุประสงค์หลักคือ?

ตอบ : เพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ (บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย เมียนมา สาธารัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน) โดยมุ่งขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศภาคีความตกลงฯ มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ


                                                                                 นายทศวิณหุ์ เกียรติทัตต์

                                                                                 วิทยากรชำนาญการพิเศษ



กฎหมายในกลุ่มอาเซียน Inter-Parliamentary Union The ASEAN Secretariat AIPA สมัชชารัฐสภาอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่
สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี
เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300