แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของประเทศไทยด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำรายงานนำเสนอในการประชุม
รายการโทรทัศน์ ASEAN Law
รายการวิทยุรัฐสภา
วีดิทัศน์ศูนย์ประชาคมอาเซียน
แบบสอบถาม
แบบติดตามการใช้ประโยชน์เว็บไซต์
รายการโทรทัศน์ ขบวนการคนตัวเล็ก


จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
FAQ
คำถาม - คำตอบอาเซียน (มกราคม 2564)

วันที่ 4 ก.พ. 2564

คำถาม-คำตอบอาเซียน

 

          1. ถาม : เกษตรกรและผู้ประกอบการของไทยจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากการที่ประเทศไทยร่วมลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ?

              ตอบ : เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทย ซึ่งความตกลงอาร์เซ็ปถือเป็นโอกาสในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร

ของไทยเพิ่มเติมจากความตกลงเอฟทีเอที่ไทยมีอยู่แล้วกับสมาชิกอาร์เซ็ปรายประเทศ โดยเฉพาะกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นภายใต้ความตกลงฉบับนี้ เช่น ผักผลไม้แปรรูปและไม่แปรรูป น้ำมันที่ได้จากพืช ของปรุงแต่งจากธัญพืชและแป้ง แป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู สินค้าประมง อาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เป็นต้น

                    นอกจากนั้น ผู้ประกอบการยังสามารถใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าเดียวกันในการส่งออกไป 16 ประเทศ จากเดิมที่ใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าที่แตกต่างกันตามความตกลงเอฟทีเอแต่ละฉบับ

อีกทั้ง เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงอาร์เซ็ปยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้แหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายมากขึ้นทั้งจากประเทศในกลุ่มและนอกอาร์เซ็ปได้อีกด้วย

 

          2. ถาม : ประเทศใดในอาเซียนที่ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้โดยไม่มีข้อยกเว้นทางกฎหมาย?

              ตอบ : ประเทศเวียดนาม กฎหมายเวียดนามให้สิทธิหญิงในการทำแท้ง โดยจัดให้มีบริการทำแท้งในระบบสุขภาพของเวียดนามสามระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ดังนี้

                      1) นานถึง 6 สัปดาห์ - การทำแท้งสามารถทำได้ที่คลินิกในบางจังหวัดที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยสาธารณสุขจังหวัด

                      2) ระหว่าง 6 ถึง 12 สัปดาห์ - ให้บริการทำแท้งที่สถานีอนามัยอำเภอ

                      3) ระหว่าง 6 ถึง 22 สัปดาห์ – ให้บริการทำแท้งที่โรงพยาบาลส่วนกลางและโรงพยาบาลจังหวัด

 

          3. ถาม : การประชุม SEOM ระหว่างวันที่ 23 - 27 ม.ค. 2564 ที่ได้มีการหารือแผนการทำงานด้านเศรษฐกิจที่อาเซียนจะดำเนินการให้สำเร็จในปี 2564 ทั้ง 10 ประเด็นนั้น ครอบคลุมยุทธศาสตร์ กี่ด้าน อะไรบ้าง?

              ตอบ : ครอบคลุมยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ดังนี้

                       1) ยุทธศาสตร์ด้านฟื้นฟู อาทิ การจัดทำเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ของประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 และการประกาศเจรจาจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา

                       2) ยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัล อาทิ การจัดทำแผนงานเพื่อดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ปี 2564 – 2568 

                       3) ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน อาทิ การจัดทำกรอบการส่งเสริม MSMEs (วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม รายย่อย) ของอาเซียน เรื่องอาหาร การเกษตร และป่าไม้ รวมถึงการจัดทำกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียน

          4. ถาม : ประเทศใดเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19?

             ตอบ : ประเทศสิงค์โปร์เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เริ่มฉีด เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ขณะนี้ฉีดไปแล้ว 113,050 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 29 ม.ค. 63)

 

          5. ถาม : เหตุใดแรงงานเมียนมาจึงนิยมเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่น

ทั้งที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่าประเทศไทย และแรงงานนี้แหล่งที่มาจากไหน?

             ตอบ : เหตุที่แรงงานเมียนมานิยมเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่าประเทศไทยนั้น ต้องพิจารณาจากแหล่งที่มาของแรงงานเป็นอันดับแรก กล่าวคือ แรงงานที่เข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากขอบตะเข็บชายแดนที่ติดกับประเทศไทย เป็นรัฐที่มีเขตแดน

ติดประเทศไทย เช่น รัฐฉาน รัฐกระหย่า รัฐกระหยิ่น (กระเหรี่ยง) และรัฐตะเหน่งดายี่ (ตระนาวศรี) และยังมีรัฐที่มีพื้นที่ใกล้เคียงคือเกือบติดชายแดนไทย คือ รัฐมอญ รัฐพะโค (ซึ่งเดิมคือหงสาวดี)

รัฐเหล่านี้ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเกษตรกรรม

                      การเข้ามาทำงานในประเทศไทย ก็เนื่องมาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ในช่วงที่ว่างจากการทำงาน แรงงานชาวเมียนมาจากรัฐต่าง ๆ ข้างต้น ซึ่งส่วนใหญ่

เป็นภาคการเกษตรจึงเข้าสู่ประเทศไทย

                    ส่วนแรงงานที่ไปทำงานในประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่าประเทศไทย จะเป็นแรงงานที่มีฝีมือ ประเภทบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะไปทำงานในประเทศอื่นมากกว่าไทย

 

 

 

 

                                                                      นายทศวิณหุ์ เกียรติทัตต์

                                                                      วิทยากรชำนาญการพิเศษ




กฎหมายในกลุ่มอาเซียน Inter-Parliamentary Union The ASEAN Secretariat AIPA สมัชชารัฐสภาอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่
สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี
เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300