แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของประเทศไทยด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำรายงานนำเสนอในการประชุม
รายการโทรทัศน์ ASEAN Law
รายการวิทยุรัฐสภา
วีดิทัศน์ศูนย์ประชาคมอาเซียน
แบบสอบถาม
แบบติดตามการใช้ประโยชน์เว็บไซต์
รายการโทรทัศน์ ขบวนการคนตัวเล็ก


จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FONTSIZE
FAQ
คำถาม - คำตอบอาเซียน (พฤศจิกายน 2563)



คำถาม-คำตอบอาเซียน

 

       1. ถาม : ASEAN Corporate Governance Scorecard (ACGS) คืออะไร?

          ตอบ : การประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกำกับดูแลกิจการของ ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) หรือที่เรียกว่า ACMF Corporate Governance Initiatives โดยเป็นการเปิดเผยระดับคุณภาพการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคอาเซียน

                สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Scorecard นี้ คือ ศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) 

       2. ถาม : การประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum: ACMF) ระดับเลขาธิการ ครั้งที่ 33 ประเทศใดเป็นเจ้าภาพในการจัด และมีข้อสรุปอย่างไร?

          ตอบ : การประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ASEAN Capital Markets Forum: ACMF) ระดับเลขาธิการ ครั้งที่ 33 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 นั้น มีหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมผ่าน VDO Conference Call  โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในอาเซียน ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) และสำนักเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

                 การประชุมดังกล่าวมีข้อสรุปดังนี้ คือ ที่ประชุมได้ร่วมหารือทิศทางเชิงนโยบายและผลักดันการดำเนินงานของคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้ ACMF ให้สอดคล้องกัน อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐาน ดึงดูดการลงทุนและเชื่อมโยงตลาดทุนในภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมถึงได้เห็นชอบต่อข้อสรุปของแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงตลาดทุนอาเซียนระหว่างปี 2564-2568 (ACMF Action Plan 2021-2025) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาตลาดทุนให้ฟื้นฟูและเติบโตอย่างยั่งยืน มีความครอบคลุมทุกภาคส่วน และมีความยืดหยุ่นพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผน โดยจะรายงานและ

ขอความเห็นชอบในที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนครั้งถัดไป

                 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานที่สำคัญเพื่อส่งเสริม

ให้การเกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ ความคืบหน้าของแผนงานที่จะเริ่มดำเนินการก่อนในระยะ 5 ปีแรก (key priorities) ภายใต้ ACMF Roadmap for ASEAN Sustainable Capital Market การริเริ่มสร้างความร่วมมือกับ Climate Bond Initiative เพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือทางวิชาการในการพัฒนาแนวทางส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืน และการหารือถึงแนวทางการศึกษาและพัฒนา green, sustainable, and transitional ASEAN taxonomy โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้นำเสนอต่อที่ประชุม

เพื่อขอให้สมาชิกพิจารณาส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงประเด็น Business and Human Rights ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs) ด้วย

 

       3. ถาม : ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มติเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียน

เพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล (Framework for Promoting Accessibility for All in ASEAN Digital Broadcasting) และอนุมัติให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนของไทยรับรองร่างกรอบความร่วมมือของอาเซียนเพื่อส่งเสริมการรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์ดิจิทัล แบบเวียน (Ad-referendum) นั้น อยากทราบว่ากรอบความร่วมมือดังกล่าวมีสาระสำคัญอย่างไร?

          ตอบ : สาระสำคัญของร่างกรอบความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมบริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงสำหรับคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง และเสริมสร้างความร่วมมือ การพัฒนา และ

ความมุ่งมั่นในการให้บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประชาคมอาเซียน

ให้ความสำคัญกับการพัฒนากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการสร้างประชาสังคมที่เข้มแข็งและครอบคลุม โดยมุ่งส่งเสริมการให้บริการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึง ได้แก่ คำบรรยายแทนเสียง (Closed Caption) เสียงบรรยายภาพ (Audio Description) และภาษามือ (Sign Language Interpretation)

 

       4. ถาม : ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนสำหรับปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2566 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ มีสาระสำคัญอย่างไร?

         ตอบ : 1. กำหนดให้ข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 1005.90.90 ซึ่งมีถิ่นกำเนิดและส่งตรงมาจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามความตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรองรับถิ่นกำเนิดสินค้า (Form D) หนังสือรับรอง ใบรับรอง หรือเอกสารอื่นใด ซึ่งแสดงว่าสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นสินค้าที่มีความปลอดภัยต่อชีวิต หรือสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ หรือพืช

                2. กำหนดให้การนำสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้

                    2.1 กรณีองค์กรคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า ต้องนำเข้าระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 3 ธันวาคม ของแต่ละปี และต้องจัดทำแผนการจัดซื้อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการผลิต การตลาด ภาวะราคา และความต้องการใช้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาผลผลิตในประเทศ

                    2.2 กรณีผู้นำเข้าทั่วไป ต้องนำเข้าระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 สิงหาคม ของแต่ละปี และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานควบคุมการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์

                    2.3 ต้องนำเข้าทางด่านศุลกากรที่มีด่านตรวจพืชและด่านกักสัตว์ หรือมีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจของด่านดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่

                3. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ สำหรับการนำข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ตามข้อ 1. เข้ามาในราชอาณาจักร ในอัตราน้ำหนักสุทธิเมตริกตันละศูนย์บาท

                4. กำหนดให้ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

                (ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563)

 

       5. ถาม : RCEP คืออะไร และประเทศไทยได้อะไร

         ตอบ :  RCEP หรือ "อาร์เซ็ป" มีชื่อเต็มว่า Regional Comprehensive Economic Partnership ในความหมายภาษาไทยว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งภูมิภาคที่ว่านั้นก็คือ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่รวมกันกว่า 15 ประเทศ ได้แก่ 10 ประเทศจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ "อาเซียน" (ASEAN), ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ รวมถึง จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

 

 

 

 

 

                                                         นายทศวิณหุ์ เกียรติทัตต์

                                                                วิทยากรชำนาญการพิเศษ



กฎหมายในกลุ่มอาเซียน Inter-Parliamentary Union The ASEAN Secretariat AIPA สมัชชารัฐสภาอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่
สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี
เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300