แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของประเทศไทยด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำรายงานนำเสนอในการประชุม
รายการโทรทัศน์ ASEAN Law
รายการวิทยุรัฐสภา
วีดิทัศน์ศูนย์ประชาคมอาเซียน
แบบสอบถาม
แบบติดตามการใช้ประโยชน์เว็บไซต์
รายการโทรทัศน์ ขบวนการคนตัวเล็ก


จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
FAQ
คำถาม - คำตอบอาเซียน (มีนาคม 2563)

วันที่ 3 มี.ค. 2563

คำถาม-คำตอบอาเซียน


1. ถาม :  นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศมาเลเซียชื่ออะไร?  และเป็นคนที่เท่าไหร่?

ตอบ  นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของประเทศมาเลเซีย คือ นายมูห์ยิดดิน ยัสซิน (Muhyiddin Yassin) เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ ๘ ของประเทศมาเลเซีย

 

2. ถาม :  หน่วยงานใดมีหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการเงินการคลังของประเทศบรูไน ? และมีหน้าที่อย่างไร

   ตอบ    หน่วยงานหลักที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายการเงินการคลังของบรูไน คือ Brunei Currency and Money Board (BCMB)

       หน้าที่หลักของ BCMB คือ การรักษาเสถียรภาพค่าเงินเหรียญบรูไน โดยกำหนดว่าหากมี

การผลิตเงิน ๑ เหรียญบรูไนเพื่อหมุนเวียนในตลาดบรูไนจะต้องนำเงินไปลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์

ในต่างประเทศในมูลค่าที่เท่ากันเพื่อเป็นการค้ำประกัน นอกจากนี้ BCMB มีมาตรการที่เข้มแข็งในการดูแลสถาบันการเงินการธนาคารในบรูไน ซึ่งประกอบด้วยธนาคารท้องถิ่น ๒ แห่ง คือ Baiduri Bank และ TAIB ธนาคารต่างชาติ ๖ แห่ง คือ HSBC, Standard Chartered, UOB, Citibank, MAYBANK (มาเลเซีย), และ RHB (มาเลเซีย) 

      

3. ถาม : มหาวิทยาลัยของประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศใด จัดว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ ๑

ในอาเซียน? มีชื่อว่าอะไร? และเหตุปัจจัยใดในที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ ๑ ในอาเซียน?

   ตอบ  การจัดอันดับของ Quacquarelli Symond (QS) World University Ranking และ Times Higher Education (THE) World University Ranking ในปี ๒๐๑๘ ได้จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงค์โปร์ (National University of Singapore-NUS) อยู่ในอันดับ ๑ ทั้งระดับอาเซียนและเอเชีย 

       ส่วนปัจจัยที่ทำให้ NUS ติดอันดับ ๑ คือ ความน่าเชื่อถือทางวิชาการ งานวิจัย ผลงานวิชาการ ความเป็นนานาชาติและการเรียนการสอน แต่ที่ไม่อาจละเลยได้คือ “ห้องสมุด” ในฐานะ “คลังสมอง” พื้นฐานการเรียนรู้และต่อยอดความรู้ของนักศึกษาและบุคลากร

 

 

 

4. ถาม การประชุมแผนความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครั้งที่ ๗ จัดขึ้นเมื่อไหร่และสถานจัดคือที่ใด? และมียุทธศาสตร์เชื่อมโยงกันอย่างไร?

ตอบ การประชุมแผนความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครั้งที่ ๗ จัดขึ้นที่ ณ นครหลวง เวียงจันทน์ สปป. ลาว ระหว่างวันที่ ๕-๖ กันยายน ๒๕๖๑

       ทั้งสองประเทศได้กระชับความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ มุ่งเดินหน้าขยายการค้าให้บรรลุเป้าหมายการค้าที่ ๑.๑ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ๒๕๖๔ จาก ๖,๑๗๐ ล้านดอลลาร์ ในปี ๒๕๖๐ ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพด้านการขนส่งของไทย-สปป. ลาว แห่งที่ ๒ ระหว่างมุกดาหาร-สะหวันนะเขต เป็นพื้นที่ควบคุมร่วมกัน (Comon Control Area หรือ CCA) ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกการนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทย-สปป. ลาว อย่างมาก

โดยสามารถตรวจเอกสารพิธีการนำเข้า-ส่งออกที่เกี่ยวกับ ๒ ประเทศในจุดเดียว

 

5. ถาม ผู้ผลิตสินค้าสามารถนำตราสัญลักษณ์หรือชื่ออาเซียนไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าได้หรือไม่?

ตอบ   ตราสัญลักษณ์และชื่ออาเซียนตราสัญลักษณ์และชื่ออาเซียนเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักเลขาธิการอาเซียน “เอาไปใช้ไม่ได้หากไม่ได้รับอนุญาต” โดยอาเซียนมีการกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำตราสัญลักษณ์หรือชื่ออาเซียนไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

ซึ่งอาจสร้างความเสื่อมเสียต่ออาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศได้ ดังนั้น เอกสารหนังสือที่นำตราสัญลักษณ์อาเซียนไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตจึงอาจเป็นการกระทำที่

ผิดกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ และ

ชื่ออาเซียนในเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการอาเซียน (www.aseansec.org)

 


 

                                                                     นายทศวิณหุ์ เกียรติทัตต์

                                                                     วิทยากรชำนาญการพิเศษ



กฎหมายในกลุ่มอาเซียน Inter-Parliamentary Union The ASEAN Secretariat AIPA สมัชชารัฐสภาอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่
สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี
เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300