แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของประเทศไทยด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำรายงานนำเสนอในการประชุม
รายการโทรทัศน์ ASEAN Law
รายการวิทยุรัฐสภา
วีดิทัศน์ศูนย์ประชาคมอาเซียน
แบบสอบถาม
แบบติดตามการใช้ประโยชน์เว็บไซต์
รายการโทรทัศน์ ขบวนการคนตัวเล็ก


จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์


คำถาม-คำตอบอาเซียน (กุมภาพันธ์ 2563)



1.
ถาม
: ขอบเขตอํานาจหนาที่หลักของคณะกรรมาธิการระหวางรัฐบาลอาเซียนวาดวยสิทธิมนุษยชน                               (ASEAN
Intergovernmental Commission on Human Rights : AICHR) คืออะไร?



    ตอบ สงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน



 



2. ถาม
:  เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
คืออะไร
?



   ตอบ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
(
ASEAN
University Network : AUN) เป็นโครงการความร่วมมือระดับอุดมศึกษาที่สำคัญของอาเซียน
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2538
สมาชิกของเครือข่ายประกอบด้วยมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้      จำนวน  26
แห่ง ที่ตั้งของสำนักงานเลขานุการ
AUN อยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การสร้างเครือข่ายนี้เป็นความพยายามของอาเซียนที่จะเชื่อมโยงสถาบันอุดมศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัย        การแลกเปลี่ยนความรู้
ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาของภูมิภาค
กิจกรรมที่สำคัญของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน            เช่น การเชิญมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคมาร่วมศึกษา
วิจัย แลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร การเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบสารสนเทศ เป็นต้น



 



3. ถาม
:  ศูนยประสานงานอาเซียนเพื่อความชวยเหลือดานมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ(ASEAN
coordinating Centre for Humanitarian: AHA Center) นอกจากทําหนาที่ประสานงาน
และแลกเปลี่ยนขอมูลระหวางประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องการจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองฉุกเฉินในภูมิภาคอาเซียนแลว
ยังทําหนาที่ใดอีกบาง
?



   ตอบ
การติดตามและวิเคราะหขอมูลภัยพิบัติ
/การเตรียมพรอมและตอบสนองตอภัยพิบัติ/การเสริมสรางความสามารถในการจัดการภัยภิบัติ



 



4. ถาม สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ
อาเซียน (
Association
of Southeast   Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยอะไร และมีลงนามโดยใครบ้าง?



    ตอบ
ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (
Bangkok Declaration) ลงนามโดย
รัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่



         1. นายอาดัม มาลิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย



         2. ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน
รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติประเทศมาเลเซีย



         3. นายนาซิโซ รามอส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์



         4. นายเอส ราชารัตนัม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์



         5. พันเอก
(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทย



 



5. ถาม ปฏิญญากรุงเทพฯ
ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียนได้แก่ อะไรบ้าง
?



     ตอบ  1.
ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร



             2.
ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค



             3.
เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค



             4.
ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี



             5.
ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย
และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



             6.
เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า
ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม 



             7.
เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ



 



 



                                                                   นายทศวิณหุ์
เกียรติทัตต์



                                                                   วิทยากรชำนาญการพิเศษ


กฎหมายในกลุ่มอาเซียน Inter-Parliamentary Union The ASEAN Secretariat AIPA สมัชชารัฐสภาอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่
สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี
เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300